โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้รับการจัดสรรงบประมาณแผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิต/โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยโครงการหลักที่ 2 โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก จัดสรรให้สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเป็นหน่วยงานติดตามกำกับ ดูแลผลการดำเนินโครงการตามปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รายงานผลการดำเนินโครงการในครั้งนี้ ได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลการดำเนินโครงการต่างๆ การบูรณาการโครงการ การวิเคราะห์โครงการภายใต้โครงการหลักที่ 2 โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก รวมถึงปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ผลการดำเนินโครงการช่วยขับเคลื่อนตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ด้านการสร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคม แผนแม่บทภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561–2580) ด้านเศรษฐกิจฐานราก ตัวชี้วัด แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ ตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แพลตฟอร์มที่ 2 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ท้าทายของสังคม มีความเชื่อมโยงพันธกิจตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 1 แสวงหาความจริงเพื่อสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล มาตรา 6 ประสานความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรอื่นทั้งในและต่างประเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มาตรา 7 ศึกษาและแสวงหาแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาสมกับการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น รวมถึงการแสวงหาแนวทางเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน และ มาตรา 8 ศึกษาวิจัย ส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตัวชี้วัด แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น ตัวชี้วัด แผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น ตัวชี้วัด แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พันธกิจสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ตัวชี้วัดที่ 2 ระดับความสำเร็จในการพัฒนางานบริการวิชาการบนพื้นฐานความต้องการของชุมชนท้องถิ่นสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตัวชี้วัด เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน (No Poverty) เป้าหมายที่ 9 สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม (Industry, Innovation and Infrastructure) และเป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production)
โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ผ่านกระบวนการการมองภาพอนาคต (FORESIGHT) 2) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ในมิติด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และ 3) เพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบ (Social Lab) ด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ต่อยอด ขยายผลการพัฒนาทั้งในเชิงประเด็น และเชิงพื้นที่ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก มุ่งเน้นให้ชุมชนในพื้นที่บริการได้รับการยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตด้วยองค์ความรู้ของวิชาการของมหาวิทยาลัยฯ โครงการนี้ดำเนินงานภายใต้ชุดโครงการย่อย 26 โครงการ ประกอบด้วย
โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก
กิจกรรมที่ 1: โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดมหาสารคาม
กิจกรรมที่ 2: โครงการบูรณาการพันธกิจ สัมพันธ์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานราก
กิจกรรมที่ 3 : โครงการส่งเสริมเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
โครงการย่อยที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสร้างชุมชนตันแบบ และถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการฟาร์มผัก (Vegetable Farm Management) เพื่อส่งเสริมชุมชนปลูกผักให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานทางการเกษตรที่ ในชุมชนเกษตรกรรม ตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 3 รูปแบบระบบไฮบริดบำบัดน้ำเสียเพื่อใช้ทางด้านการเกษตรสำหรับชุมชน
โครงการย่อยที่ 4 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นเพื่อการดูแลสุขภาพองค์รวมชุมชนตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 5 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยศิลปะผ้าพิมพ์สีและลวดลายจากใบไม้ (Eco print)
โครงการย่อยที่ 6 รูปแบบการสร้างระบบผลิตน้ำแร่สำหรับดื่มในวัดอุปราชจังหวัดมหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 7 โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ชุมชนด้วยการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากจากภูมิปัญญาท้องถิ่น อย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน
โครงการย่อยที่ 8 พัฒนาคุณภาพสังคมด้วยเครือข่ายการป้องกันอาชญากรรมทางเพศในสถานศึกษาและชุมชน
โครงการย่อยที่ 9 รูปแบบระบบฟอกสีย้อมเป็นน้ำใสเพื่อใช้ทางการเกษตรสำหรับวิสาหกิจชุมชนทอกกและทอผ้า
โครงการย่อยที่ 10 โครงการพัฒนาและยกระดับนวัตกรรมปุ๋ยชีวภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปุ๋ยชีวภาพ บ้านหนองมะแปบ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 11 รูปแบบจำลองเครื่องกวนกากมันสำปะหลังหมักยีสต์อัดเม็ดสำหรับผลิตอาหารสัตว์สำหรับชุมชน
โครงการย่อยที่ 12 ยกระดับผลิตภัณฑ์บำรุงพืชและดินของชุมชนสู่การต่อยอดการขายเชิงพานิชย์ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ของชุมชนบ้านส่องเหนือ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 13 ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากกก สู่การสร้างรายได้เชิงพานิชย์ด้วยเทคโนโลยีเมตาเวิร์สดิจิทัลของชุมชนตำบลหนองบอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 14 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรากฐานงานอาชีพผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 15 การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาสมุนไพรจังหวัดมหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 16 การส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ ต.ศรีสุข อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 17 โครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยการจัดการห่วงโซ่การผลิตกล้วยกรอบแก้ววิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปขนมบ้านโนนรัง ต.บ้านกู่ อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 18 โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากอ้อยและกล้วยเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนยั่งยืนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ของชุมชนสหกรณ์การเกษตรนาเชือก ต.นาเชือก จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 19 โครงการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง
โครงการย่อยที่ 20 โครงการการพัฒนาเพิ่มศักยภาพทางการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผักไฮโดรโปนิกส์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกผักและแปรรูปสมุนไพรอินทรีย์ ต.ท่าสองคอน อ.เมือง จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 21 โครงการ Isan gastronomy : การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารอย่างสร้างสรรค์ด้วยเมนู ฟิวชั่นอีสานพื้นถิ่น
โครงการย่อยที่ 22 โครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากสู่การพึ่งพาตนเองอย่างเข้มแข็งของชุมชนบ้านส่องเหนือ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 23 โครงการการเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวของ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 24 โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว อ.แกดำ จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 25 โครงการพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตเพื่อยกระดับรายได้ให้คนในชุมชนฐานรากด้วยการหลักการบริการธุรกิจในยุค new normal บ้านห้วยโป่ง หมู่ที่ 13 ต.เชียงยืน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 26 โครงการอัตลักษณ์ชุมชนและสำนักท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก : ประเพณี “สรงกู่ดอนกู่โนนพระปรางค์กู่อารยธรรมขอมแหล่งราณคดีกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตำบลวังแสง อ.แกดำ จ. มหาสารคาม”
สามารถจำแนกได้เป็น 46 โครงการย่อย สามารถสรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ได้ผลดังนี้ 1) จำนวนหมู่บ้าน/คนที่เข้าร่วมโครงการ พบว่ามีหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 64 หมู่บ้าน จำนวนทั้งสิ้น 2,396 คน 2) ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการสามารถสร้างนวัตกรรมทางสังคม (Paradigm shift) ที่มีการยกระดับคุณภาพชีวิต พบว่า มีนวัตกรรมที่เกิดขึ้น 6 นวัตกรรม คือ การผลิตเหรียญโปรยทาน นวัตกรรมการแปรรูปจากถั่วลิสง นวัตกรรมกล้วยฉาบโมเลน นวัตกรรมการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรผลิตปุ๋ยถ่านไบโอชาร์ องค์ความรู้การบริหารจัดการอาหารอีสานฟิวชั่นสำหรับการท่องเที่ยว และระบบสารสนเทศการจัดการฟาร์มผัก 3) รายได้ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้น พบว่าจาก 10 โครงการที่กำหนดให้เก็ยข้อมูลรายได้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 17.3 และ 4) จำนวนชุมชนที่มีดัชนีความสุขมวลรวม (GVH)เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 43 ชุมชน ทั้งนี้จากการดำเนินโครงการสามารถสร้างผลิตภัณฑ์จากการบริการวิชาการ ได้ 12 ผลิตภัณฑ์ เกิดองค์ความรู้และนวัตกรรม และสามารถสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย อำเภอโกสุมพิสัย และอำเภอแกดำ
การใช้บริการวิชาการแก่ชุมชน โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยได้แก่ คณะ ศูนย์ สำนักจำนวน 10 หน่วยงาน และหน่วยงานภายนอกจำนวน 36 หน่วยงาน ในการนำองค์ความรู้มาพัฒนาและเสริมสร้างชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตด้านสังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษา และด้านเศรษฐกิจที่ดี โดยโครงการโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก จะทำให้ชุมชนในพื้นที่บริการได้รับการยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตด้วยองค์ความรู้ของวิชาการของมหาวิทยาลัยฯ เกิดพื้นที่หรือชุมชนต้นแบบด้านเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม หรือชุมชนต้นแบบในการบริหารจัดการตนเองแบบองค์รวม เพื่อให้ชุมชนได้รับประโยชน์จากการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต และเกิดนวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากพืช/สัตว์ และวัฒนธรรมเพื่อเศรษฐกิจ
ซึ่งจากผลการดำเนินโครงการ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจากโครงการก่อให้เกิดการแปรรูปผลิตภัณฑ์ การยกระดับผลิตภัณฑ์ ที่นำไปสู่การเพิ่มมูลค่าโดยเป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน และภาคีเครือข่ายเพื่อนำไปสู่การเป็นชุมชนที่เข้มแข็งและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ความพร้อมในการออกสู่ตลาด สร้างรายได้ให้กับคนใน ซึ่งจากการดำเนินโครงการพบว่า ชุมชนท้องถิ่นมีทรัพยากรท้องถิ่นที่มีมูลค่า ที่สามารถนำมาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากมาย แต่ยังขาดการพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ดังนั้น การที่มหาวิทยาลัยเข้าไปมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน และพัฒนาชุมชนจะสามารถช่วยยกระดับศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจที่เข้าร่วมโครงการได้อย่างดี

ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : ผศ.ดร.วสันต์ ปินะเต

SDG ที่เกี่ยวข้อง
SDGs RMU