โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่สู่แพลตฟอร์มออนไลน์บนฐานเอกลักษณ์ของชุมชน

โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่สู่แพลตฟอร์มออนไลน์บนฐานเอกลักษณ์ของชุมชน

โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่สู่แพลตฟอร์มออนไลน์บนฐานเอกลักษณ์ของชุมชน โดยการนาองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาชุมชน เทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามาประยุกต์ใช้กับผ้าไหมมัดหมี่ที่มีอยู่ในชุมชนมาต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่มและรายได้แก่คนในชุมชน เมื่อกล่าวถึงผ้าไหมมัดหมี่ เป็นศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองชนิดหนึ่งนิยมทามานานแล้ว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย วิธีการทาผ้ามัดหมี่คือการมัดด้ายให้เป็นลายที่เส้นพุ่งหรือเส้นยืนด้วยเชือกแล้วนาไปย้อมสี เพื่อให้สีและลายตามที่กาหนด แล้วจึงนามาทอเป็นผ้า ผ้าไหมมัดหมี่ในบ้านเราส่วนใหญ่นิยมทอผ้ามัดหมี่เส้นพุ่ง แต่มีบางจังหวัดที่มีการทาผ้ามัดหมี่โดยใช้เส้นยืน ถ้ากล่าวถึงผ้าไหมมัดหมี่ของจังหวัดมหาสารคามนั่น ผ้าไหมมัดหมี่เป็นเอกลักษณ์ของอาเภอนาดูน โดยเริ่มต้นจากชาวบ้านในชุมชนตาบลหัวดง อาเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ได้นาภูมิปัญญาของท้องถิ่นสังสรรค์ผ้าไหมมัดหมี่ขึ้นมาให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนเอง ซึ่งการทอและการใช้ผ้าไหมมัดหมี่ของคนอีสานในสมัยก่อนและปัจจุบันจะแฝงไว้ด้วยความเชื่อทุกขั้นตอน โดยจะมีความเชื่อตั้งแต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมไปจนถึงการทอและการใช้ผ้าไหม ซึ่งผู้เลี้ยงไหมมีความเชื่อว่า การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในวันที่เป็นมงคลจะทาให้ได้ผลผลิตดีและจะทาให้ไม่มีปัญหาในการทอ กล่าวคือ ทอได้ตลอดไม่ติดขัดหรือขาดตอน ส่วนในกลุ่มผู้ทอยังมีข้อห้ามหลายประการที่เป็นความเชื่อต่อ ๆ กันมา ได้แก่ ห้ามไม่ให้เด็กโหนกี่ ห้ามนั่งข้างช่างทอผ้า ห้ามหญิงมีครรภ์ทอผ้า นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ผ้าไหม โดยคนอีสานเชื่อว่า ผ้าถุงผู้หญิงที่นุ่งแล้วทาให้อาคมเสื่อม ผ้าถุงใหม่ของผู้หญิงใช้เป็นผ้าหุ้มห่อหนังสือใบลานได้ ผ้าถุงมัดหมี่ไม่นิยมทาหมอน ที่นอน และอาสนะของพระ ข้อห้ามเหล่านี้เป็นการสั่งสอนบุตรหลานไม่ให้ทาในสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควร ในปี พ.ศ. 2544 อาเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ได้จัดประกวดผ้าไหมขึ้น ทาให้ผ้าไหมมัดหมี่ลายหัวนาคของตาบลหัวดง อาเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ได้รับรางวัลชนะเลิศและเป็นตัวแทนของอาเภอนาดูนไปประกวดผ้าไหมของจังหวัดมหาสารคาม แต่ในปัจจุบันผ้าไหมมัดหมี่ในจังหวัดมหาสารคามมีลวดลายที่หลากหลาย โดยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ประจาจังหวัดมหาสารคามคือ ลายสร้อยดอกหมาก เป็นลายผ้าโบราณลายดั้งเดิมของท้องถิ่นอีสาน เป็นลายเก่าแก่ของบรรพบุรุษ โดยชาวบ้านในแถบภาคอีสานโดยเฉพาะจังหวัดมหาสารคามได้ทอใช้กันมากและจังหวัดมหาสารคาม แต่เดิมชาวบ้านแถบจังหวัดมหาสารคามทอผ้าลายโบราณ ตามแบบบรรพบุรุษอยู่หลายลายด้วยกัน แต่ภายหลังลายเก่าแก่เหล่านี้ก็เริ่มสูญหายไปจากชีวิตการทอผ้าของชาวบ้าน เนื่องจากความยากในการทอ ลายสร้อยดอกหมากก็เป็นลายผ้าโบราณลายหนึ่งที่เกือบจะสูญหายไปจากท้องถิ่น ด้วยความที่ลายผ้ามีความละเอียดมาก ผู้ทอต้องมีความรู้ในเรื่องของลาย และมีฝีมือทั้งในการมัดและการทอ ถ้าไม่มีความชานาญ การย้อมสีอาจไม่สม่าเสมอทาให้ลายผ้าผิดเพี้ยนไป นอกจากนี้ต้องใช้ระยะเวลาในการทอมาก จึงเป็นสาเหตุให้ชาวบ้านไม่นิยมทอผ้าลาย “สร้อยดอกหมาก” จนกระทั่งทางจังหวัดมหาสารคาม ได้จัดให้มีการประกวดผ้าไหมประจาจังหวัดขึ้น ปรากฏว่าผ้าไหมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศนั้น คือ ลายสร้อยดอกหมาก เพราะมีความสวยงามและวิจิตรบรรจงมาก จึงได้เลือกผ้าไหมลายสร้อยดอกหมากเป็นผ้าไหมประจาจังหวัด พร้อมกับสนับสนุนให้ชาวบ้าน ทอผ้าลายนี้ให้มากขึ้น ดังนั้นด้วยสถานการณ์ปัจจุบันการแข่งขันทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าที่มีราคาต่าแต่คุณภาพดี การดาเนินธุรกิจชุมชนเพื่อให้ประสบความสาเร็จได้นั้นต้องทาให้ดีที่สุดไม่เฉพาะเพียงแต่ทาให้ผู้บริโภคพอใจเท่านั้น หากแต่ต้องทาให้ถึงขั้นที่ผู้บริโภคยินดีปรีดาในสินค้าหรือบริการนั้น ๆ และต้องเข้าถึงผู้บริโภคในหลากหลายรูปแบบและลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ที่ทันสมัยแต่
ยังต้องผสมผสานลวดลายดั้งเดิม จนเกิดแนวคิดที่จะยกระดับกระบวนการย้อมสี นวัตกรรมการออกแบบลวดลายผ้าตามอัตลักษณ์ท้องถิ่นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (โปรแกรม Microsoft excel) และช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์สู่การสร้างเศรษฐกิจฐานรากบนฐานเอกลักษณ์ชุมชนที่สามารถรองรับการจาหน่ายผลิตภัณฑ์ได้อย่างกว้างขวางและเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่มีหลากหลายในปัจจุบัน

ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : ผศ.ทนงศักดิ์ ปัดสินธุ์

SDG ที่เกี่ยวข้อง
SDGs RMU