การยกระดับประสิทธิภาพการผลิตข้าวฮางทุ่งนาทองเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเหล่าจั่น หมู่ 10 ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม

การยกระดับประสิทธิภาพการผลิตข้าวฮางทุ่งนาทองเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเหล่าจั่น หมู่ 10 ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม

สภาวการณ์ปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าทางการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ประเภทข้าว เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวให้มีคุณภาพ ลดต้นทุน และสร้างรายได้ให้เกษตรกรไทยมีรายได้ยั่งยืน ประกอบกับปัจจุบันเกษตรกรผู้ผลิตข้าวฮางประสบปัญหาจากกระบวนการผลิตข้าวฮางที่ต้องใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง และพื้นที่เพาะปลูกเพื่อผลิตข้าวฮางมีจำนวนจำกัด ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งให้เกษตรกรได้มีการผลิตข้าวให้ได้คุณภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ เครื่องจักรกลทางการเกษตร การตรวจรับรอง GAP และการได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนลงพื้นที่ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์และค่อยให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวฮางได้อย่างถูกต้อง อาทิเช่น การเพิ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ การสร้างนวัตกรรมทงการเกษตร การให้ความรู้ในการผลิตข้าวฮาง ตลอดจนการอบรมเพื่อถ่ายทอดวิธีการต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเกษตรกร
จากการลงพื้นที่สำรวจความต้องการเบื้องต้น พบว่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเหล่าจั่น หมู่ 10 ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม เริ่มจัดตั้งเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561 และได้จัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2562 จากการสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม แรกเริ่มกลุ่มได้ทำผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ ผ้าฝ้าย ผ้าขาวม้า ทางหน่วยงานที่สนับสนุนผลักดันให้ไปขอใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากสำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดมหาสารคาม และประธานกลุ่มฯ ได้นำผ้าไปคัดสรร 4 รอบ ก็ไม่ผ่าน โดยรอบที่ 1 ลายไม่ตรงกัน รอบที่ 2 สีเคมีไม่ได้ รอบที่ 3 ลวดลายและสีเคมีไม่ผ่าน รอบที่ 4 เส้นด้ายหด สมาชิกกลุ่มเกิดความท้อ จึงเสนอทางหน่วยงานที่สนับสนุนให้เปลี่ยนแนวทางการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่น เนื่องจากประธานกลุ่มฯ และคนในพื้นที่ไม่ถนัดการทอผ้า ผลิตผ้าไปก็ใช้ไม่ได้ ลวดลายก็ไม่โดดเด่น จึงขอเปลี่ยนเป็นการทำข้าว ด้วยคนในพื้นที่ทำข้าวอยู่แล้ว ดังนั้นกลุ่มและสมาชิกจึงหันมาทำข้าว ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา แต่ช่วงนั้นข้าวมีราคาถูกขายไม่ได้ราคา จึงหาวิธีการคิดค้นกันว่าจะทำยังไงให้ขายข้าวได้ราคา สามารถช่วยสมาชิกในกลุ่มได้ บังเอิญเจอแม่ครูสอนทำข้าวฮาง ได้มาสอนทำข้าวฮางถึงกลุ่ม ซึ่งข้าวฮางมีจุดเด่นทางโภชนาการที่มีคุณค่าสูง อุดมไปด้วย วิตามินบี1 บี2 ไนอะซิน ธาตุเหล็ก แคลเซี่ยม สาร GABA (Gamma Amino Butyric Acid) ช่วยลดความดันโลหิตและปริมาณคอเลสเตอรอล มีส่วนช่วยควบคุมน้ำหนักและลดความการเป็นโรคอัลไซเมอร์ อีกทั้งมีธาตุแมงกานีสในปริมาณสูงที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระอันเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง ข้าวฮางงอกยังมีค่าการเปลี่ยนแปลงเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ และเป็นสารสื่อประสานที่สำคัญในการควบคุมระบบประสาท รวมทั้งกล้ามเนื้อ ข้าวฮางจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคที่รักสุขภาพโดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ไขมันสูง โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคไต เป็นต้น ตั้งแต่นั้นมาทางกลุ่มจึงเริ่มทำแบรนด์ของตัวเอง คือ แบรนด์ข้าวฮางทุ่งนาทอง ปีแรกไม่มีตลาด ทางกลุ่มจึงพากันไปตั้งบูธติดป้ายจัดจำหน่ายที่ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม ปีแรกผลิตประมาณหนึ่งตัน ปรากฏว่าขายหมด โดยไม่มีการใช้ช่องทางออนไลน์ ปีที่ผ่านมาปรากฏว่าทำยอดเพิ่ม โดยไม่ได้ออกขายตามปกติ เนื่องจากลูกค้าที่เคยกินติดใจในความหอมของข้าวฮางได้โทรมาสั่งจากป้ายที่ติดไว้ที่ศาลากลางจังหวัด จึงทำให้ปริมาณการผลิตข้าวฮางไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น การยกระดับประสิทธิภาพการผลิตข้าวฮางทุ่งนาทองเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเหล่าจั่น หมู่ 10 ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม ให้ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพเหมาะสมเป็นที่เชื่อถือได้ สามารถเพิ่มยอดขายและเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน คณะผู้จัดทำโครงการจึงมีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเหล่าจั่น หมู่ 10 ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม ให้มีการเตรียมความพร้อมในการผลิตข้าวฮางให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เป็นที่ต้องการของตลาด ด้วยการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการขอรับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช. ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช. และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ข้าวฮางสู่การยกระดับประสิทธิภาพการผลิตข้าวฮางให้มีคุณภาพ และสร้างรายได้ ส่งผลให้การดำเนินวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเหล่าจั่น หมู่ 10 ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม มีรายได้ที่ยั่งยืนต่อไป

ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย เจริญชัย

SDG ที่เกี่ยวข้อง
SDGs RMU