
โครงการติดตาม ถอดบทเรียนและประเมินผลกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้การบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ดำเนินการปรับทิศทางในการจัดการศึกษาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกยุคเศรษฐกิจใหม่ เศรษฐกิจฐานความรู้ เทคโนโลยี และสังคมยุคดิจิทัล การพัฒนาองค์กรและกำลังคนเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) นโยบายการพัฒนาของประเทศ Thailand 4.0 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 แผนยุทธศาสตร์สถาบันอุดมศึกษาระยะ 15 ปี นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นำมากำหนดทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ให้สอดคล้องกับการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่น ตามกรอบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) มหาวิทยาลัยจะต้องปรับเปลี่ยนการผลิตและพัฒนากำลังคนให้เป็นไปตามความต้องการกำลังคนของการพัฒนาท้องถิ่น พื้นที่และประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาการดูแลและพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมหาวิทยาลัย ได้กำหนดนโยบายเพื่อการพัฒนาภารกิจระยะ 20 ปี ให้บรรลุตามเป้าหมายในการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยในด้านการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่นจากนโยบายด้านการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่นจึงได้มีโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งจะมีศูนย์เรียน ที่จะเป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลข่าวสารความรู้ของชุมชน
ที่จะนำไปสู่การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับประชาชนในชุมชน เป็นแหล่งเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้
การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม ค่านิยม และเอกลักษณ์ของชุมชน
อีกทั้งเป็นแหล่งบริการชุมชนด้านต่าง ๆ เช่น การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการเรียนรู้ของชุมชน
โดยเน้นกระบวนการการเรียนรู้เพื่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมก่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้และมุ่งการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง เป็นศูนย์ฯ ของประชาชนที่ก่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน
โดยจะจัดให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ของประชาชนในชุมชนเป็นศูนย์รวมของข้อมูล รวมทั้งข่าวสาร สาระความรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
เท่าทันสถานการณ์โลกรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านองค์ความรู้ที่มีอยู่กระจัดกระจายในชุมชน และจัดการให้เป็นหมวดหมู่ มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมที่ประชาชนสามารถเข้าไปสืบค้นศึกษาและ เรียนรู้ได้ทุกเวลาเป็นศูนย์กลางในการจัดการความรู้ ที่ดำเนินการโดยประชาชนและเพื่อประชาชนเป็นศูนย์ประสานและบูรณาการการทำงาน
ของทุกภาคส่วน
ดังนั้นจึงเป็นการเก็บข้อมูลเชิงลึกของพัฒนาศูนย์เรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานของโครงการดังกล่าวจึงดำเนินการจัดโครงการติดตามถอดบทเรียนและประเมินผลกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อศึกษาแนวทางการบูรณาการองค์ความรู้หรือนวัตกรรมระบบการบริหารจัดการร่วมกับชุมชน และเพื่อจัดกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการที่สามารถแก้ไขปัญหาหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมถึงความสอดคล้องกับผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของมหาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จและยั่งยืน ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้และมีการประสานงานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน
ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : ผศ.ดร.สัญญา เคณาภูมิ