
โครงการ การพัฒนา Soft Skill ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม สำหรับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
โครงการ การพัฒนา Soft Skill ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม สำหรับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นโครงการภายใต้โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โครงการหลักที่ 7 โครงการยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม โดยมีวัตถุประสงค์โครงการ เพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนา soft skill นักศึกษาต้นแบบมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม 5 เครื่องมือ โดยมีจำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ 100 คน เพื่อค้นหานักศึกษาวิศวกรสังคมต้นแบบที่สามารถนำเครื่องมือวิศวกรสังคมไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในชุมชน จำนวน 20 คน เพื่อนำนักศึกษาต้นแบบนำเครื่องมือวิศวกรสังคมไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาในกับชุมชนบ้านบ้านตำแย ตำบลนาสีนวล อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 1 ชุมชน 50 คน และ เพื่อประเมินผลและนำผลงานมาจัดกิจกรรมโชว์แอนด์แชร์การพัฒนาท้องถิ่นด้วยกระบวนการทักษะ Soft skill (วิศวกรสังคม) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 7 เดือน ระหว่าง เดือน กุมภาพันธ์ 2567 ถึง สิงหาคม 2567 และมีกิจกรรมทั้งหมด 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนา soft skill นักศึกษาต้นแบบมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม 5 เครื่องมือ 2) กิจกรรมค้นหานักศึกษาวิศวกรสังคมต้นแบบที่สามารถนำเครื่องมือวิศวกรสังคมไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในชุมชน 3) กิจกรรมทดลองให้นักศึกษาต้นแบบนำเครื่องมือวิศวกรสังคมไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในชุมชนบ้านตำแย ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย และ 4) กิจกรรมประเมินผลและนำผลงานมาจัดกิจกรรมโชว์แอนด์แชร์การพัฒนาท้องถิ่นด้วยกระบวนการทักษะ Soft skill (วิศวกรสังคม) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
จากการดำเนินกิจกรรม พบว่า 1) นักศึกษาจำนวน 100 คน ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนา soft skill นักศึกษาต้นแบบวิศวกรสังคม ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคมทั้ง 5 เครื่องมือ ได้แก่ ฟ้าประทาน นาฬิกาชีวิต ไทม์ไลน์พัฒนาการ ไทม์ไลน์กระบวนการ และ M.I.C. M๐del 2) นักศึกษาผ่านการคัดเลือกโดยคณะกรรมเพื่อเป็นวิศวกรสังคมต้นแบบคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน 20 คน 3) นักศึกษาวิศวกรสังคมต้นแบบจำนวน 20 คน สามารถนำเครื่องมือวิศวกรสังคมไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในชุมชนบ้านตำแย ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัยได้ ในการเพิ่มมูลค่าทรัยากรฐานด้านสมุนไพร ในการทำยาดม ยาหอม พิมเสนน้ำ เพื่อสร้างอาชีพในช่วงหลังการทำนา 4) นักศึกษาวิศวกรสังคมนำผลงานมาจัดกิจกรรมโชว์แอนด์แชร์การพัฒนาท้องถิ่นด้วยกระบวนการทักษะ Soft skill (วิศวกรสังคม) ด้วยการเสวนา นำเสนอผลงาน แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ จากการดำเนินการและผลการดำเนินการโครงการ การพัฒนา Soft Skill ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม สำหรับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สามารถสรุปได้ว่า บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งต่อความสำเร็จในระดับของแผน ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ต่อไป
ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : ผศ.ดร. ยุวเรศ หลุดพา