โครงการพัฒนาคลังข้อสอบวัดระดับความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษา (RMU-GET)

โครงการพัฒนาคลังข้อสอบวัดระดับความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษา (RMU-GET)

บทสรุปผู้บริหาร
สำนักวิเทศสัมพันธ์และการจัดการศึกษานานาชาติ จัดให้มี ขึ้น เพื่อสนับสนุนนโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษาของคณะกรรมการการอุดมศึกษา และให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดแผนปฏิบัติราชการมหาวิทยาลัย ที่ให้นักศึกษามีผลการวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่าระดับ B1 โดยโครงการนี้ มุ่งหวังให้มหาวิทยาลัยฯ มีคลังข้อสอบที่มีมาตรฐานและจัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญสำหรับใช้ในการทดสอบวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ
โครงการพัฒนาคลังข้อสอบวัดระดับความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษา (RMU-GET) นี้มีผลการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดครบทุกข้อ คิดเป็นระดับการบรรลุผลร้อยละ 100
โครงการฯ นี้จะนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานการพัฒนาสมรรถและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ตลอดจนยกระดับมาตรฐานการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ให้มีระดับที่สูงขึ้น
คำนำ
รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาคลังข้อสอบวัดระดับความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษา (RMU-GET) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 เมษายน – 21 พฤษภาคม 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเพิ่มจำนวนข้อสอบวัดระดับความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (RMU-GET) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
รายงานการดำเนินโครงการฯ ฉบับนี้ประกอบด้วยเนื้อหาสาระสำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 บทนำ ซึ่งได้กล่าวถึงความเป็นมา ลักษณะ และแผนการดำเนินโครงการฯ ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินโครงการฯ ซึ่งกล่าวถึงผลลัพธ์ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพที่ได้จากการดำเนินโครงการฯ และส่วนที่ 3 บทสรุปความสำเร็จซึ่งเป็นการสรุปการบรรลุผลการดำเนินโครงการฯ รายวัตถุประสงค์และรายตัวชี้วัด นอกจากนี้ยังกล่าวถึงประโยชน์และผลกระทบจากการดำเนินโครงการฯ ตลอดจนข้อเสนอแนะหรือการวางแผนการพัฒนาโครงการฯ เพื่อป้องกันปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
สำนักวิเทศสัมพันธ์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการพัฒนาคลังข้อสอบวัดระดับความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จะนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานการจัดการศึกษาในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยฯ ในฐานะมหาวิทยาลัยฯ ของชุมชนและท้องถิ่นให้มีระดับที่สูงขึ้น
หลักการและเหตุผล
CEFR (Common European Framework of Reference for Languages) คือ มาตรฐานสากลที่ใช้ในการประเมินและอธิบายความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพในฐานะที่เป็นภาษาต่างประเทศ CEFR ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าเป็นเกณฑ์การประเมินที่น่าเชื่อถือ ดังนั้นเกณฑ์คะแนน CEFR นั้นจึงเป็นที่นิยมใช้กันในระดับนานาชาติโดยไม่จำกัดระดับชั้น CEFR ไม่ได้มีข้อสอบเฉพาะเจาะจง แต่สามารถเทียบเกณฑ์ CEFR ได้จากคะแนนสอบของข้อสอบภาษาอังกฤษมาตรฐานอื่น ๆ เช่น ข้อสอบ TOEIC ที่ทดสอบทั้ง 4 ทักษะ และ ข้อสอบ IELTS และ TOEFL ที่ทดสอบทั้ง 4 ทักษะเช่นเดียวกัน
สำนักวิเทศสัมพันธ์และการจัดการศึกษานานาชาติ เป็นหน่วยงานที่ให้บริการวิชาการเกี่ยวกับภาษา แก่นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่สนใจ และเป็น หน่วยงานที่ให้บริการเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะภาษา จึงได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อสอบที่ใช้ในการวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษเทียบเคียงมาตรฐาน CEFR เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเนื้อหาที่ใช้ในการสอบวัดระดับนั้นต้องได้ตามมาตรฐาน CEFR เพื่อคุณภาพของนักศึกษาที่จบการศึกษาออกไปสู่โลกภายนอก
ดังนั้นจึงได้จัดโครงการพัฒนาคลังข้อสอบวัดระดับความรู้ความสามารถทักษะภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษา พัฒนาจัดทำคลังข้อสอบสำหรับการสอบวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามที่ได้มาตรฐานโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้ข้อสอบเทียบเคียงมาตรฐาน CEFR ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับมาตรฐานการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ และพัฒนาสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
สำนักวิเทศสัมพันธ์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การพัฒนาเพิ่มจำนวนข้อสอบ และดำเนินโครงการพัฒนาคลังข้อสอบวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษเทียบเคียงมาตรฐาน CEFR สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในครั้งนี้ จะประสบผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาและการยกระดับมาตรฐานของมหาวิทยาลัยฯ ให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น
ลักษณะโครงการ
โครงการพัฒนาคลังข้อสอบวัดระดับความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (RMU-GET) เป็นโครงการจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญที่เป็นบุคคลภายนอก/เอกชนที่เป็นเจ้าของภาษาในการจัดทำและหาค่าคุณภาพของข้อสอบวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (RMU-GET) จำนวน 400 ข้อ แบ่งเป็นข้อสอบทักษะการฟังจำนวน 200 ข้อ และข้อสอบทักษะการอ่านจำนวน 200 ข้อ รวมทั้งสิ้น 400 ข้อ มีโครงสร้างตามมาตรฐานข้อสอบวัดระดับทักษะ TOEIC ฉบับปรับปรุงปี 2565 และมีเนื้อหาสาระเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ดังนี้
1) การฟัง (Listening Comprehension) ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 Photographs
ส่วนที่ 2 Question-Response
ส่วนที่ 3 Short Conversation
ส่วนที่ 4 Short Talks
2) ทักษะการอ่าน (Reading Comprehension) ประกอบด้วย
ส่วนที่ 5 Incomplete Sentences
ส่วนที่ 6 Text Completion
ส่วนที่ 7 Reading Comprehension
1.วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาและเพิ่มจำนวนข้อสอบวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษเทียบเคียงมาตรฐาน CEFR สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
2.กลุ่มเป้าหมายหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
2.1 สถานะกลุ่มเป้าหมาย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
2.2 ปริมาณกลุ่มเป้าหมาย นักศึกษาระดับบัณฑิต จำนวน 300 คน
2.3 พื้นที่กลุ่มเป้าหมาย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
3.ระยะเวลาของกิจกรรม
17 เมษายน – 21 พฤษภาคม 2567
4.แหล่งทุน / งบประมาณ / ความช่วยเหลืออื่นๆ ในการดำเนินโครงการ
แหล่งงบประมาณเงินรายได้ บัณฑิตภาคสมทบ ประเภทงบอุดหนุน โครงการพัฒนาคลังข้อสอบวัดระดับความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 80,000 บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน)
ตัวชี้วัดโครงการ
การดำเนินโครงการพัฒนาคลังข้อสอบวัดระดับความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษา (RMU-GET) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในปีงบประมาณ พ.ศ.2567 นี้ สำนักวิเทศสัมพันธ์ฯ กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการฯ ไว้จำนวน 2 ตัวชี้วัด ดังต่อไปนี้
การติดตามและประเมินผล
การติดตามและประเมินผลระดับโครงการฯ มีการดำเนินการโดยดังนี้
1)รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินโครงการฯ และผลการประเมินค่าคุณภาพ (IOC)ของข้อสอบ 400 ข้อ
2)ประเมินผลข้อมูล และรายงานผลการดำเนินโครงการฯ แก่ผู้บริหารหน่วยงาน
3)สรุปและจัดทำรายงานผลโครงการฯ เป็นรูปเล่มและนำเสนอมหาวิทยาลัยฯ

ผลการดำเนินโครงการ
สำนักวิเทศสัมพันธ์และการจัดการศึกษานานาชาติ ได้ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาคลังข้อสอบวัดระดับความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (RMU-GET) ระหว่างวันที่ 17 เมษายน – 21 พฤษภาคม 2567 ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนที่กำหนดไว้ โดยมีผลการดำเนินโครงการฯ ดังนี้
จำนวนข้อสอบที่ได้
สำนักฯ ได้จัดจ้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อจัดทำข้อสอบวัดระดับความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม หรือ RMU – GET จำนวน 2 ชุด ชุดละ 200 ข้อ รวมเป็น 400 ข้อ ( 1 ชุดประกอบด้วยทักษะการฟัง จำนวน 200 ข้อ และทักษะการอ่านจำนวน 200 ข้อ ) โดยอิงโครงสร้างของการสอบมาตรฐาน TOEIC มีรายละเอียดดังนี้
ผลการประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับวัตถุประสงค์
สำนักฯ ได้จัดจ้างผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำข้อสอบวัดระดับความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (RMU-GET) ซึ่งในการจัดทำข้อสอบฯ มีการหาค่าคุณภาพข้อสอบด้วยการประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับวัตถุประสงค์ (ตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR) โดยมีผลการประเมินความสอดคล้องดังนี้
ผลการดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์และการบรรลุผล
สำนักฯ ตั้งวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการพัฒนาคลังข้อสอบวัดระดับความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (RMU-GET) ใว้ 1 ข้อ มีการดำเนินโครงการฯ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใว้ร้อยละ 100 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ความสำเร็จของโครงการตามตัวชี้วัดความสำเร็จและการบรรลุผล
สำนักฯ กำหนดตัวชี้วัดในการวัดระดับความสำเร็จของการดำเนินโครงการพัฒนาคลังข้อสอบวัดระดับความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (RMU-GET) ไว้ 4 ตัวชี้วัด
จากการประเมินผลโครงการฯ รายตัวชี้วัดในส่วนที่ 4 ปรากฏผลการดำเนินโครงการฯ บรรลุผลจำนวน 4 ตัวชี้วัด คิดเป็นระดับการบรรลุผลร้อยละ 100
ประโยชน์และผลกระทบ
1.มหาวิทยาลัยฯ มีข้อสอบวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (RMU-GET) ที่ได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น และเป็นการพัฒนาปรับปรุงข้อสอบให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
2. นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (RMU-GET) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้รับการวัดระดับทักษะการใช้ภาษาอังกฤษด้วยข้อสอบที่ได้มาตรฐาน ทำให้การวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษา (RMU-GET) ของมหาวิทยาลัยฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะหรือแนวทางการพัฒนาคุณภาพ
หลังเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการฯ ทางสำนักฯ มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ เพื่อทบทวนขั้นตอนการดำเนินงานโครงการฯ ปรึกษาหารือเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนากระบวนการดำเนินการในทุกขั้นตอนโดยมีแนวทางการพัฒนาคุณภาพโครงการฯ คือควรจะมีการพัฒนาข้อสอบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีเนื้อหาที่ทันสมัยและมีโครงสร้างที่สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ที่เป็นปัจจุบัน

ความต่อเนื่องของการดำเนินโครงการ
โครงการพัฒนาคลังข้อสอบวัดระดับความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษา (RMU-GET) นี้ เป็นโครงการจัดทำข้อสอบที่ได้มาตรฐานโดยผู้เชี่ยวชาญ สามารถวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาได้ตามเกณฑ์ CEFR ซึ่งเป็นไปตามนโยบายด้านการพัฒนาสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โครงการฯ นี้จึงเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับมาตรฐานการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ตลอดจนยกระดับมาตรฐานการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ให้มีระดับที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ข้อสอบที่ใช้ในการวัดระดับทักษะที่ได้มาตรฐานนั้นจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา/ปรับปรุงเพื่อให้มีเนื้อหาที่ทันสมัยและมีโครงสร้างที่สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ที่เป็นปัจจุบันเพื่อให้การวัดระดับภาษาอังกฤษนั้น เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานอย่างเที่ยงตรง การพัฒนาคลังข้อสอบจึงควรจัดให้มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : อาจารย์ลวิตรา บุญปก

SDG ที่เกี่ยวข้อง
SDGs RMU