
โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา สู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต้นแบบ
โครงการการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก กิจกรรมพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริม
การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต้นแบบ เป็นโครงการที่เชื่อมโยงตาม พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ และเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 (พ.ศ. 2561 – 2580) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ แผนแม่บทภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580)) ด้านการพัฒนานักยภาพตลอดชีวิต ด้านการพัฒนาการเรียรู้ แผนพัฒนาเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังสังคมสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต ยุทธศาสตร์กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แพลตฟอร์มที่ 1 การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ พันธตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลับราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 8 ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถประสงค์ตามมาตรา 7 ให้กำหนดภาระหน้าที่ ของมหาวิทยาลัย ข้อ 5 เสริมสร้สงความเข็มแข็งของวิชาชีพครู ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตราฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก ด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้บูรณาการแบบคละชั้นหรือคละวิชา ตามแนวคิด Active learning ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดมหาสารคาม เพื่อสร้างชุดสื่อการเรียนรู้ตามแนวคิด Active learning สำหรับนักเรียน เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ ความสามารถภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ที่จำเป็นสำหรับนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการพัฒนาและใช้นวัตกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการคละชั้นหรือคละวิชา และสื่อการเรียนรู้ตามแนวคิด Active learning ให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า
โดยการจัดกิจกรรมเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบการจัดกิจกรรมในชั้นโดยใช้เทคโนโลยีการจำลองภาพให้เสมือนจริง AR (Augmented reality) สำหรับการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครูและครูประจำการในเขตจังหวัดมหาสารคาม
ระยะที่ 2 นิเทศติดตาม เพื่อให้คำแนะนำ ในการจัดสื่อ นวัตกรรม
ระยะที่ 3 สร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ สำหรับการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครูและครูประจำการในเขตจังหวัดมหาสารคาม
งบประมาณ 195,000 บาท กลุ่มเป้าหมาย ครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา ศิษย์เก่า และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
ผลการดำเนินงาน พบว่า คุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กสูงขึ้นโดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Active learning ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดมหาสารคาม มีชุดสื่อการเรียนรู้ตามแนวคิด Active learning สำหรับนักเรียน เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ ที่จำเป็นสำหรับนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า
สรุปผลการดำเนินงาน โครงการการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก กิจกรรมพัฒนา
บุคลากรเพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต้นแบบ ได้ดำเนินการบรรลุผลตาม วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จของหลักสูตร และตัวชี้วัดความสำเสร็จของโครงการ
ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : ดร.สุรศักดิ์ หาญธีระพิทักษ์ คณะครุศาสตร์ (กิจกรรมย่อย โครงการยุทธศาสตร์ โรงเรียนขนาดเล็ก)