
โครงการพัฒนาศักยภาพให้สถานศึกษาในการบริการองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โครงการ “การพัฒนาศักยภาพให้บุคลากรในสถานศึกษาเพื่อการบริการองค์ความรู้ และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”เป็นโครงการเสริมสร้างความเข็มแข็งของวิชาชีพครู การผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง ตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนาครู แผนปฏิบัติการเชิง ยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2579) และยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนาครู แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนาครูมืออาชีพ โดยมีเป้าหมายสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Quality Education) เป็นโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทในการขับเคลื่อนในแต่ละยุทธศาสตร์ตามภารกิจและหน้าที่ส่งเสริมการจัดการศึกษาทุกช่วงวัยที่เป็นเอกลักษณ์ตามบริบทพื้นที่ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา และพัฒนาการวิจัยหรือนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้วยรูปแบบและช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลายเหมาะสม ตามบริบทของหลักสูตรในการร่วมพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการนำความรู้จากการวิจัย การบริการวิชาการ วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อเสริมทักษะปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับบุคคลากรทางการศึกษาและนักเรียน นักศึกษาในพื้นที่เป้าหมาย และเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเครือข่ายผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการคือบุคลากรทางการศึกษา และนักศึกษาในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม การดำเนินงานตามโครงการมีกระบวนการเป็นขั้นตอน คือ กิจกรรมที่ 1 ออกแบบฐานกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนกิจกรรมที่ 3 สร้างชุดปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนกิจกรรมที่ 4 สะท้อนคิด ถอดบทเรียน จากดำเนินงานส่งผลผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาตนเอง ในการใช้สื่อการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับประถมศึกษาโดยให้ผู้เรียนมีทักษะการสังเกต การสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ปัญหา ตัดสินใจและสรุปความรู้ได้อย่างมีเหตุผล กระบวนการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นการปฏิบัติที่สร้างสรรค์ (Practical Science) และเน้นการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem - based Learning) และมีความเข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (Nature of Science) อย่างชัดเจน รูปแบบการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษาให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงและผลิตบุคคลากรที่มีคุณภาพสามารถเชื่อมต่อกับชุมชนท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน ได้ขยายเครือข่ายทางวิชาการในพื้นที่ และเป็นการการนำทรัพยากรท้องถิ่นมาเป็นส่วนประกอบในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทั้งในระดับประถมศึกษา ผลการดำเนินโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : ผศ.กลยุทธ ดีจริง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ คณะครุศาสตร์ (กิจกรรมย่อย โครงการยุทธศาสตร์ โรงเรียนขนาดเล็ก)