โครงการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อสร้างบรรยากาศห้องเรียนที่สนุกสนาน ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้กับโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดมหาสารคาม
การศึกษาไทยมุ่งเน้นพัฒนาคนไทยให้เป็นผู้ที่มีความรู้ที่ดี และสูงสุดตาม ศักยภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ฉบับปรับปรุงแก้ไข ปี 2545 ได้กําหนดความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาไว้ว่า “การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดํารงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี ความสุข” และในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ได้ระบุเนื้อหาความรู้ที่จําเป็นต่อการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพได้ในอนาคต โดยจะต้องบรรลุสมรรถนะที่สําคัญ 5 ประการ อันได้แก่ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิดความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี รวมทั้งผู้เรียนทุกคนยังจะต้องบรรลุผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ นอกจากนี้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ตัวชี้วัดที่ 2 ผลสัมฤทธิ์ทางการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตและลดความเหลื่อมหล้ำในการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามในฐานะมหาวิทยาลัยของชุมชนท้องถิ่น ในการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ระยะ 20 ปี ที่มีวิสัยทัศน์ในการเป็น “มหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน” ดังมีแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (พ.ศ. 2566-2570) ยุทธศาสตร์ที่ 1 พันธกิจสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ เป้าหมาย 1.5 ระดับความสำเร็จการยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มเปราะบาง และโรงเรียนในโครงการพระราชดำริ รวมทั้งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชากรทุกกลุ่มทุกช่วงวัยในพื้นที่ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ นวัตกรรมต้นแบบเพื่อยกระดับคุณภาพของผู้เรียนด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ และเนื่องจากบัณฑิตวิทยาลัยเป็นหน่วยงานสนับสนุนในมหาวิทยาลัยฯที่มีส่วนในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนาท้องถิ่นให้บรรลุตามพันธะกิจ บัณฑิตวิทยาลัยมีความตระหนักถึงความสำคัญของการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้กับชุมชน และพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต บัณฑิตวิทยาลัยจึงสนใจที่จะจัดโครงการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อสร้างบรรยากาศห้องเรียนที่สนุกสนาน ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้กับโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดมหาสารคาม เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรได้ใช้องค์ความรู้ในการพัฒนาชุมชน ครู ได้รับการ re skill up skill and new skill ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อสร้างห้องเรียนที่น่าสนใจ และได้บทเรียนสำเร็จรูปที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้กับโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดมหาสารคาม
ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : ดร.พัชราภรณ์ พิมพ์จันทร์ บัณฑิตวิทยาลัย ร่วมกับ คณะครุศาสตร์ (กิจกรรมย่อย โครงการยุทธศาสตร์ โรงเรียนขนาดเล็ก)