
โครงการการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาสมุนไพรจังหวัดมหาสารคาม
ผลการดำเนินโครงการการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาสมุนไพรจังหวัดมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2567 ซึ่งเป็นโครงการหลักที่ 2 โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่จัดสรรให้ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ผลการดำเนินโครงการช่วยขับเคลื่อนตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ตัวชี้วัด แผนแม่บทภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561–2580) ด้านเศรษฐกิจฐานราก ตัวชี้วัด แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 7 ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูงและสามารถแข่งขันได้ ตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แพลตฟอร์มที่ 3 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขัน มีความเชื่อมโยงพันธกิจตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 8 ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 ให้กำหนดภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัย คือ ศึกษาและแสวงหาแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น รวมถึงการแสวงหาแนวทาง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ตัวชี้วัด แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด แผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น ตัวชี้วัด แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พันธกิจสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ตัวชี้วัดที่ 2 ระดับความสำเร็จในการพัฒนางานบริการวิชาการบนพื้นฐานความต้องการของชุมชนท้องถิ่นสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตัวชี้วัด เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)
เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน (No Poverty)
โดยการดำเนินโครงการมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่แปรรูปจากสมุนไพร 2) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ 3) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่
วิธีการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาความรู้การยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรใหม่ ระยะที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาความรู้การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ระยะที่ 3 ส่งเสริมและพัฒนาความรู้การพัฒนาโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่
ผลลัพธ์ที่สำคัญของโครงการ มีผลการดำเนินโครงการ 3 ปี ย้อนหลังมีดังนี้
ปีงบประมาณ 2564 ผลลัพธ์ที่สำคัญของโครงการ คือ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อความงาม คือสบู่ใยบวบ พัฒนาตราสินค้า และเส้นทางการท่องเที่ยว ของตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ปีงบประมาณ 2565 ผลลัพธ์ที่สำคัญของโครงการ คือ พัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรแปลงใหญ่ไร่สดใสสมุนไพรไทย หมู่ที่ 6 บ้านเขวาค้อ ตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามจากสมุนไพร จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ถุงมือประคบสมุนไพร และผงสครับขัดผิว 2) ฉลากสินค้า จำนวน 2 แบบ คือ ฉลากถุงมือประคบสมุนไพร และฉลากผงสครับขัดผิว
โปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่ จำนวน 2 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมการท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน และ โปรแกรมการท่องเที่ยว 1 วัน เส้นทางการท่องเที่ยว 1 เส้นทาง ได้แก่ 1) โปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่ จำนวน 2 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมการท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน และ โปรแกรมการท่องเที่ยว 1 วัน 2) เส้นทางการท่องเที่ยว 1 เส้นทาง คือ ไร่สดใส ต.แคน อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ผลลัพธ์ที่สำคัญของโครงการ คือ พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกล้วยและสมุนไพรบ้านหนองยาง หมู่ที่ 9 บ้านหนองยาง ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ผลลัพธ์ ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามจากสมุนไพร จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ยาหม่องสมุนไพร 2) ฉลากสินค้า จำนวน 2 แบบ คือ ฉลากตรายี่ห้อ และฉลากด้านข้าง 3) โปรแกรมและเส้นทางการท่องเที่ยว จำนวน 2 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมการท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน และ โปรแกรมการท่องเที่ยว 1 วัน 4) เส้นทางการท่องเที่ยว แบบเกษตรทฤษฎีใหม่ 1 เส้นทาง คือ ไร่แสนดี บ้านหนองยาง ต.หัวขวาง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม
และปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พัฒนากลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรแปลงใหญ่ไร่สดใสสมุนไพรไทย หมู่ที่ 6 บ้านเขวาค้อ ตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ได้ผลลัพธ์จำนวน 3 รายการ ได้แก่ 1) ถุงเท้าประคบสมุนไพร 2) ฉลากสินค้า จำนวน 1 แบบ คือ ฉลากถุงเท้าประคบสมุนไพร 3) เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อ.วาปีปทุม จังหวัดมหาสารคามแบบ 2 วัน 1 คืน และแบบ 1 วัน
ซึ่งจากผลการดำเนินโครงการ สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ความพร้อมในการออกสู่ตลาด สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ทำให้เศรษฐกิจท้องถิ่นโดยรวมดีขึ้น ซึ่งจากการดำเนินโครงการพบว่า ชุมชนท้องถิ่นมีทรัพยากรท้องถิ่นที่มีมูลค่า ที่สามารถนำมาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากมาย แต่ยังขาดการพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ดังนั้นการที่มหาวิทยาลัยเข้าไปมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน และพัฒนาชุมชนจะสามารถช่วยยกระดับศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจได้อย่างมาก
ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : อาจารย์กุณฑีรา อาษาศรี
SDG ที่เกี่ยวข้อง

















