
โครงการยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม
โครงการยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม ที่ผ่านมา ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมา ทางโครงการได้แบ่งกิจกรรมย่อย 8 กิจกรรม หัวใจหลักของโครงการคือการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักศึกษา บอกเล่าเรื่องราว ความเป็นมา สิ่งที่จะได้หลังจากผ่านกระบวนการวิศวกรสังคม ความเป็นวิศวกรสังคม นักศึกษา คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ได้รับการเข้าอบรมทั้งหมดจำนวน 9 คณะได้แก่ ครุศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาการจัดการ เทคโนโลยีการเกษตร วิศวกรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวนทั้งหมด 900 คน คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ 100 คน และนักศึกษา 900 คน
การดำเนินงานของทุกโครงการจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สำหรับการดำเนินงานในส่วนของต้นน้ำ ได้ทำการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาทักษะด้าน soft skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม ให้นักศึกษาได้เข้าใจถึง เครื่องมือ 5 เครื่องมือ ได้แก่ ฟ้าประทาน นาฬิกาชีวิต Timeline พัฒนาการ Timeline กระบวนการ และ M.I.C model กลางน้ำจะเป็นกิจกรรมให้นักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการได้ลงไปสำรวจพื้นที่ ฝึกใช้ทักษะด้านการแยกแยะข้อมูลที่ได้ว่าเป็น Fact หรือ Feeling ฝึกทักษะการสื่อสาร การถาม-ตอบ เพื่อให้ได้ข้อมูล ทุนชุมชน ทุนทางวัฒนธรรม สังคม หรือสิ่งแวดล้อม นำมาวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้ มาสร้างเป็นนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ให้กับชุมชน ความโชคดีของพวกเราคือชุมชนมีความเอ็นดูตัวนักศึกษาเป็นลูกหลาน เพราะฉะนั้นข้อมูลที่ได้มา เหมือนกันเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน ได้เห็นแนวคิดใหม่ๆ ร่วมกับความเก๋าของประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริงของชุมชน สิ่งที่นักศึกษาได้คือการทำงาน ความเข้าใจงานและการเอาใจใส่ไปในการทำงาน เชื่อได้ว่าไม่มีในห้องเรียนอย่างแน่นอน ต่อมาคือการนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาสร้างนวัตกรรม สิ่งที่ได้จากกระบวนการนี้ ลงมือทำ และประสบการณ์ที่ได้จากการแก้ไขปัญหา ปลายน้ำ การนำประสบการณ์ที่ได้ มา Show and share และเปิดบ้านวิศวกรสังคม ให้กับนักศึกษามีและไม่มีประสบการณ์ในการอบรม กิจกรรมสร้างความเป็นผู้นำ และเสริมทักษะการพูดในที่สาธารณะ
ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : ผศ.ดร.ขวัญยืน เลี่ยมสำโรง