
โครงการ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรากฐานงานอาชีพผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
โครงการ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรากฐานงานอาชีพผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม เป็นโครงการแผนปฏิบัติราชการระยะ 20 ป (พ.ศ. 2561-2580) ประเด็นยุทธศาสตรที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน (No Poverty) ตัวชี้วัดที่ 2 ระดับความสำเร็จในการพัฒนางานบริการวิชาการบนพื้นฐานความต้องการของชุมชนท้องถิ่นสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยโครงการมีวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ทักษะอาชีพให้กลุ่มผู้สูงอายุ วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อพัฒนาทักษะการออกแบบตราสินค้า และวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อพัฒนาการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ผ่านรูปแบบ Online , Offline ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการให้ความรู้ทักษะเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ระหว่างวันที่ 18-21 มีนาคม 2567 โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำเหรียญโปรยทาน และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำน้ำยาล้างจาน และระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2567 เป็นกิจกรรมที่ 2 โดยจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบตราสินค้า และกิจกรรมที่ 3 การพัฒนาด้านการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านรูปแบบ Online , Offline ณ โรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลวังไชย อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม งบประมาณจากโครงการ ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลวังไชย ตำบลวังไชย อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 50 คน
หลักการและเหตุผล
การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของเกือบทุกประเทศในโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราการเกิดของประเทศต่างๆ ลดลง ขณะที่คนอายุยืนยาวขึ้น ตลอดจนโครงสร้างของประชากรในประเทศไทย ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุเช่นเดียวกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทำให้ประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มอัตราสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าในปี พ.ศ. 2558 จะมีสัดส่วนผู้สูงอายุ ร้อยละ 15.6 พ.ศ. 2568 ร้อยละ 21.5 และ พ.ศ. 2576 มีร้อยละ 25 ของประชากรทั้งประเทศ (ทศพนธ์นรทัศน์. 2552) ทำให้ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Age Society) โดยสังคมผู้สูงอายุที่มีประชากรวัยสูงอายุเพิ่มมากขึ้นนั้น ส่งผลให้ประเทศไทยเริ่มขาดแคลนประชากรวัยแรงงาน กระทบเป็นลูกโซ่ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ แรงงานสูงอายุเสียสิทธิ์และโอกาสในการทำงาน (วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ. 2558) ทำให้ถูกมองว่าเป็นภาระของลูกหลาน จำเป็นต้องเร่งพัฒนาศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ ต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยการเพิ่มคุณภาพชีวิต มุ่งพัฒนาผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมไปสู่สังคมตามลำดับขั้น จากการมีฐานความรู้และคุณธรรมในการดำเนินชีวิต ให้สามารถพึ่งตนเองได้ โดยการที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและการพิจารณาปัญหาของผู้สูงอายุด้านต่าง ๆ จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถอยู่ในครอบครัว ชุมชนและสังคมได้อย่างมีความสุข เพราะผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง จัดเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าของชาติ และถือเป็นผู้ทำประโยชน์ให้แก่สังคม ซึ่งผู้สูงอายุจะตระหนักเห็นคุณค่าของตนเองและสามารถถ่ายทอดความรู้หรือประสบการณ์ที่มีคุณค่าให้แก่ชุมชน เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อครอบครัว และชุมชนต่อไป อย่างไรก็ตาม สังคมไทยก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” ในระยะเวลาอันสั้น ครอบครัวเดี่ยวมีมากขึ้น สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปถ้าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ในชุมชนเป็นผู้มีคุณภาพชีวิตที่ดีจะส่งเสริมให้ชีวิตด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและด้านสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุดีตามไปด้วย (Sukanan, T. Chariyasilp, S. & Tummanont T. 2010)
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรากฐานงานอาชีพผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม โดยการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ทักษะอาชีพ ตลอดจน ส่งเสริมและสร้างกลุ่มอาชีพให้กลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรากฐานงานอาชีพผู้สูงอายุของชุมชน และเพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เกิดรายได้ และให้สามารถบรรลุผลสำเร็จของตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัยและคณะต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ทักษะอาชีพให้กลุ่มผู้สูงอายุ
2 เพื่อพัฒนาทักษะการออกแบบตราสินค้า
3 เพื่อพัฒนาการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ผ่านรูปแบบ online , offline
กิจกรรมดำเนินงาน
ต้นน้ำ
กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการให้ความรู้ทักษะเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ
1. อบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำเหรียญโปรยทาน
2. อบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำน้ำยาล้างจาน
กลางน้ำ
กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการให้ความรู้เกี่ยวการออกแบบตราสินค้า
1. อบรมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบตราสินค้า
ปลายน้ำ
กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาด้านการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ผ่านรูปแบบ online , offline
ผลิตภัณฑ์/นวัตกรรม
1. เหรียญโปรยทาน
2. น้ำยาล้างจานสมุนไพร
ผลกระทบ (impact) / ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ด้านเศรษฐกิจ - ผู้สูงอายุมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
- แรงงานสูงอายุไม่เสียสิทธิ์และโอกาสในการทำงาน
ด้านสังคม - เกิดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างกลุ่มอาชีพของผู้สูงอายุในชุมชน
- ไม่เป็นภาระของลูกหลาน โดยยึดแนวทางการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก
ด้านการศึกษา - เกิดการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต
ด้านสิ่งแวดล้อม - เกิดการนำวัสดุเหลือใช้กลับมาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน
- เกิดการนำวัตถุดิบที่มีในชุมชนมาเพิ่มมูลค่าด้วยการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
สรุปผลการดำเนินการ
ผลการดำเนินงานโครงการ พบว่า วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ผู้สูงอายุได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะอาชีพ จำนวน 2 กลุ่มงานอาชีพ ได้แก่ การทำเหรียญโปรยทาน และการทำน้ำยาล้างจานสมุนไพรเป็นการเพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้น วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ผู้สูงอายุได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบตราสินค้า เพื่อนำไปใช้วางแผนในการสร้างอัตลักษณ์และการมีตัวตนของแบรนด์ให้เป็นที่น่าดึงดูดและการจดจำของลูกค้าในการซื้อครั้งต่อไปได้ เป็นการช่วยเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจเลือกซื้อให้ลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น และวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ผู้สูงอายุได้รับองค์ความรู้ในการพัฒนาด้านการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ผ่านรูปแบบ online , offline เป็นการเพิ่มโอกาสช่องทางการตลาดเพื่อนำไปสู่การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ที่เพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต สรุปผลการดำเนินงาน โครงการ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรากฐานงานอาชีพผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ได้ดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จของหลักสูตร และได้บรรลุผลตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการเรียบร้อยแล้ว
ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปภาพิต ศรีสว่างวงศ์
SDG ที่เกี่ยวข้อง
















