
โครงการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศเพื่อตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2575 และมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคนและ สังคมไทยให้เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของประเทศ มีความพร้อมทางกาย ใจ สติปัญญา และทักษะศตวรรษที่ 21 มีคุณธรรมจริยธรรม เคารพกฎหมาย มีภาวะผู้นำ รู้รักษ์คุณค่าความเป็นไทยและรู้บริบทสากล ประกอบกับ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงมาตรฐาน การผลิตบัณฑิตให้เหมาะสม มีคุณภาพ สอดคล้องกับนโยบายที่กำหนด และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ ตลาดแรงงาน ความก้าวหน้าของศาสตร์และเทคโนโลยี รวมจนถึงพลวัตรของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยมุ่งหวังให้การจัดการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิต สร้างวิถีการเรียนรู้ของคนไทยให้เป็นสังคมแห่งการ เรียนรู้สู่การร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม เพื่อให้การดำเนินการในการขับเคลื่อนหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2565 ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาหลักสูตรแบบ Outcome-based Education (OBE) ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นเป้าหมายหรือผลลัพท์หมาย โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และอาจารย์เป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรุ้เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์ เพื่อให้หลักสูตรสามารถจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และผู้ที่เกี่ยวข้องนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับปรุงหลักสูตรโดยการออกแบบหลักสูตรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ และสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยกำหนด ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญ คือ การจัดการศึกษาให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษามีคุณลักษณะ ของคนไทยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยสู่ความมั่นคงและยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จึงกำหนดเกณฑ์ การประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตรไว้ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบของเครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ (คปภ.) และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ตามรูปแบบ ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA ซึ่งเกณฑ์ AUN-QA ระดับหลักสูตรเน้นที่คุณภาพของกิจกรรม ทางการศึกษาตามมิติ 3 มิติ คือ คุณภาพปัจจัยนำเข้า คุณภาพของกระบวนการและคุณภาพของผลผลิต/ผลลัพธ์ รวมทั้งเป็นเกณฑ์ที่เน้นผลการเรียนรู้คาดหวัง (Expected Learning Outcome หรือ ELO) ที่พัฒนาขึ้นจากความจำเป็นต่างๆ ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหลักสูตรและข้อกำหนดมาตรฐานคุณภาพต่างๆ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เช่น ข้อกำหนดมาตรฐานหลักสูตร/มาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา หรือข้อกำหนดจากสภาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง สำนักมาตรฐานและประกันคุณภาพจึงกำหนดกิจกรรมอบรมระยะที่ 1 จำนวน 3 หลักสูตร จำนวน 2 กิจกรรม จัดกิจกรรมอบรม 2 หลักสูตรในปีงบประมาณ 2566 ได้แก่ 1) หลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรตามแนวทางของ OBE 2) หลักสูตรการอบรม AUN-QA Implementation ans Gap Analysis(version 4.0) และในปีงบประมาณ 2567 เป็นการดำเนินการขับเคลื่อนต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ในหลักสูตร 3 คือ การอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรด้วยเกณฑ์ AUN-QA version 4.0 และมีการดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 ซึ่งจะมีกิจกรรมย่อย 2 หลักสูตร ได้แก่ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรตามแนวทางของ OBE 2) การอบรม AUN-QA Implementation ans Gap Analysis(version 4.0) โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์ AUN-QA เพื่อรองรับการดำเนินงานประกันคุณภาพของหลักสูตรให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
นอกจากนั้นแล้ว ในการที่มหาวิทยาลัยจะก้าวไปสู่ความเป็นเลิศทั้งทางด้านวิชาการ มุ่งความสำเร็จในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ และยกระดับการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสู่ความเป็นเลิศ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสีย มีการรับรองคุณภาพการศึกษา จึงได้ส่งเสริม สนับสนุนให้คณะ/หน่วยงานสนับสนุนนำเกณฑ์ EdPEx ไปใช้ในการวางแผนและการพัฒนาการดำเนินงาน ผลักดันให้เกิดการพัฒนาคุณภาพภายในหน่วยงาน โดยในปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กำหนดเกณฑ์ การประกันคุณภาพการศึกษา ระดับคณะ/หน่วยงานสนับสนุน ไว้ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบของเครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ (คปภ.) และเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) ซึ่งปีการศึกษา 2566 อยู่ในแผนงานการดำเนินงานตามเกณฑ์ EdPEx-V ปีที่ 2 มีคณะ/หน่วยงานที่ใช้เกณฑ์ EdPEx ระดับคณ จำนวน 3 คณะ และ 4 หน่วยงาน จึงจำเป็นต้องสร้างการรับรู้และขับเคลื่อนสู่การใช้เกณฑ์ EdPEx ให้ครบทุกหน่วยงานจึงได้จัดเป็นกิจกรรมระยะที่ 2 กิจกรรม ส่งเสริมสนับสนุน และสร้างความรู้ความเข้าใจในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศด้วย EdPEx เกี่ยวกับการเขียนโครงสร้างองค์กร (Organization Profile : OP)
และกิจกรรมระยะที่ 3 จะเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เพื่อให้สอดคล้องกับการที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่น ที่มุ่งเน้นการสร้าง และพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะสูงตามความต้องการของท้องถิ่น และพัฒนาท้องถิ่นด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม ดังนั้นให้เป้าหมายของการดำเนินงานสามารถตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ได้ ซึ่งผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลกร จะต้องมีความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานตามเป้าหมายของ SDGs โดยมีเป้าหมายทั้ง 17 เป้าหมายภายใต้หนึ่งเป้าหมายจะประกอบไปด้วยเป้าหมายย่อย ๆ ที่เรียกว่า เป้าประสงค์ (Targets) ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 169 เป้าประสงค์ และพัฒนา ตัวชี้วัด (Indicators) จำนวน 232 ตัวชี้วัด เพื่อติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยที่จะมุ่งผลสัมฤทธิ์ให้เกิดกับท้องถิ่น โดยในปี 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามมีผลการจัดอันดับ SDGs (THE Impact Rankings 2023) อันดับที่ 41 จาก 65 มหาวิทยาลัยในของไทย อันดับที่ 14 จาก 32 มหาวิทยาลัยราชภัฏ และอันดับที่ 1001+ ของโลก จาก 1,591 สถาบัน
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น สำนักมาตรฐานและประกันคุณภาพ ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อนการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพทั้งด้านการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ AUN-QAระดับคณะ/ศูนย์/สำนัก และระดับสถาบัน ตามเกณฑ์ EdPEx รวมถึงการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมาย SDGs จึงได้กำหนดจัดกิจกรรมโครงการ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่มีความเชื่อมโยง 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความเข้าใจอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในการจัดทำหลักสูตรตามแนวทาง OBE เพื่อรับการตรวจประเมินหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA และเพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประเมินตามเกณฑ์ AUN-QA ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ระยะที่ 2 ส่งเสริมสนับสนุน และสร้างความรู้ความเข้าใจกับบุคลากร และดำเนินการในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศด้วย EdPEx
ระยะที่ 3 ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
ทั้งนี้กิจกรรมการดำเนินงานทั้ง 3 ระยะ จะสามารถช่วยให้มหาวิทยาลัยผ่านการรับรองคุณภาพหลักสูตร จาก สปอว. ผ่านการรับตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน และช่วยให้มหาวิทยาลัยมุ่งสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ และก้าวเข้าสู่การจัดอับดับมหาวิทยาลัย ในเวทีของ Times Higher Education World University Rankings (THE) ได้สำเร็จและมุ่งสู่เป้าหมายที่ยั่งยืน
ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : อ.กุณฑีรา อาษาศรี
SDG ที่เกี่ยวข้อง



















