
การขับเคลื่อนชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรมท้องถิ่น : เครือข่ายเข้มแข็ง สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่าย
โครงการนี้เป็นการบูรณาการกิจกรรมร่วมกับระหว่างหลักสูตรต่างๆ ตามบริบทของหลักสูตรเพื่อนำความรู้จากการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ ของบุคลากรในคณะวิทย์ มาใช้ในการการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาชุมชน และการผลิตภัณฑ์ ซึ่งคณะดำเนินงานมุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะทางอาชีพ ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นและสามารถนำไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับนักศึกษา และประชาชนที่เข้าร่วมโครงการได้ การนำวิทยาศาสร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาและชุมชนจากต้นทุนทางธรรมชาติให้เพียงพอที่จะพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity-based economy) และเศรษฐกิจชีวภาพ (bioeconomy) สามารถนำทรัพยากรชีวภาพมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในเพาะปลูก การแปรรูปลักษณะของผลิตภัณฑ์ ไข่ผำเป็นพืชที่ไม่ต้องใช้การดูแลมาก สามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้สบายๆ เพาะใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงเพียง 2 สัปดาห์ สามารถเก็บผลผลิตขายได้ และยังเป็นพืชที่มีอนาคตสดใส ด้วยคุณประโยชน์ที่ครบถ้วน จึงเหมาะต่อการส่งเสริมให้เพาะเลี้ยงและแปรรูปเป็นอาหารคุณค่าโภชนาการสูง
ในการดำเนินการโครงการนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากชุมชนเขวา ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคามทั้งสิ้น 50 คน การประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในประเด็นของคุณภาพการของการจัดกิจกรรม พบว่าการเข้าร่วมโครงการทำให้ได้รับความรู้ แนวคิด ทักษะและประสบการณ์ใหม่ ๆ ระดับดีมาก (4.74) ในประเด็นวิทยากร/ผู้ประสานงาน พบว่าความเหมาะสมของวิทยากร ในภาพรวม มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดอยู่ในระดับดีมาก (4.64) และในประเด็นกระบวนการ ขั้นตอนการดำเนินงาน พบว่าความเหมาะสมของระยะเวลา มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดอยู่ในระดับดีมาก (4.72) โดยรวมของผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับระดับดีมาก (4.65)
ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : ผศ.พันธิวา แก้วมาตย์ ฝ่ายวิชาการ ประกันคุณภาพการศึกษา และบริการวิชาการ