
การจัดการความรู้สู่การบูรณาการการเรียนการสอนกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่น
การจัดกิจกรรมภายใต้โครงการ “การจัดการความรู้สู่การบูรณาการการเรียนการสอนกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่น” ประจำปีการศึกษา 2566 เป็นกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยมีเป้าประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ และมีกลยุทธเพื่อปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนเน้นสมรรถนะ วิชาชีพ ทักษะบัณฑิตศตวรรษที่ 21 และคุณลักษณะ 4 ประการ ที่ตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่นสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศ
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมการรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กับการศึกษาเรียนรู้ในสภาพจริงจากการเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งในปีการศึกษา 2567 นี้ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ได้จัดโครงการ “การจัดการความรู้สู่การบูรณาการการเรียนการสอนกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่น” เพื่อให้นักศึกษามีความตระหนัก และเห็นความสำคัญ และมีความรู้ ความเข้าใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาจากการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริงนอกห้องเรียน และเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการปรับปรุงกระบวนการการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น โดยโครงการดังกล่าว ได้จัดขึ้นในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ณ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม และแหล่งเรียนรู้ทางวัฒธรรมท้องถิ่น ณ พระธาตุนาดูน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น และกู่สันตรัตน์อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
จากผลการประเมินผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 25 คน พบว่า นักศึกษาร้อยละ 100 มีความรู้มากยิ่งขึ้นเมื่อได้มาศึกษานอกห้องเรียน เพิ่มเติมจากที่เรียนในชั้นเรียน มีความพึงพอใจในภาพรวม ร้อยละ 88.97 และมีระดับความสำเร็จของโครงการ ในระดับ 4 โดยมีค่าเฉลี่ย 4.54 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.61 ซึ่งมีความพึงพอใจมากที่สุด ดังนั้นผลการดำเนินโครงการ ฯ นี้ บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทุกประการ
ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : ดร.รติกร แสงห้าว