
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
จากการที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จัดทำโครงการส่งเสริม ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้บริการวิชาการแก่คนพิการ/ครอบครัว/ชุมชน 3 รูปแบบ คือ
1. งานพัฒนาศูนย์ฝึกประสบการณ์ นักศึกษาระดับปริญญาตรี/การฟื้นฟูสมรรถภาพบุคคลพิการภายในศูนย์ฯ และการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention : EI) เป็นการจัดระบบการให้บริการแก่เด็กที่มีความเสี่ยงทุกระดับทันที ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความพิการ โดยมุ่งเน้นการให้การศึกษากับพ่อแม่และครอบครัว ทั้งนี้มุ่งพัฒนาเด็กให้ได้รับบริการจากนักวิชาชีพ ทั้งด้านการศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย การบำบัดรักษา ตลอดจนป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการไปตามขั้นตอน เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป หรือใกล้เคียงเด็กทั่วไปมากที่สุด และเป็นแหล่งเสริมการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติให้กับนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ และ สาชาวิชาอื่น ๆ
2. งานปฏิบัติลงสู่พื้นที่ในชุมชน ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบล 13 เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล และ 2 เทศบาลตำบล ที่คณาจารย์ ครู บุคลากร และนักศึกษา ลงปฏิบัติงานให้บริการในชุมชนภายใต้งานฟื้นฟูสมรรถภาพบุคคลพิการโดยชุมชน (Community Based Rehabilitation : CBR) ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ โดยศูนย์การศึกษาพิเศษ ได้ปฏิบัติงานนี้ต่อเนื่องตลอดมา เพื่อพัฒนางานการให้ความช่วยเหลือคนพิการในชุมชน ให้เกิดความเข้มแข็งแก่ผู้พิการ ครอบครัว และชุมชน ที่อยู่ในชุมชนและห่างไกลจากการให้บริการอยู่ในช่วง (วัยเรียน/วัยทำงาน/วัยสูงอายุ) เพื่อวางแผนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและจัดสวัสดิการการให้บริการ
1) เด็กวัยเรียน เพื่อจัดการบริการการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มฯ /จัดบริการส่งต่อโรงเรียนเรียนร่วม/โรงพยาบาล/ศูนย์ทั้งภาครัฐและเอกชน ตามความเหมาะสม
2) วัยทำงาน จัดบริการโดยดำเนินการฝึกอาชีพเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ตามความถนัด/ความต้องการ/บริบท เพื่อการพัฒนาอาชีพและรายได้ของคนพิการ ครอบครัวคนพิการ ร่วมกับชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้มั่นคง และยั่งยืน
3) วัยผู้สูงอายุ จัดการบริการในเรื่องของการดูแลสุขภาพ การออกกำลังกาย และฝึกอาชีพเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ตามความถนัด/ความต้องการ/บริบท เพื่อการพัฒนาอาชีพและรายได้ของคนพิการ ครอบครัวคนพิการ ร่วมกับชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้มั่นคง และยั่งยืน โดยการประสานความร่วมมือขององค์การบริการส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเมือง, อำเภอกันทรวิชัย, อำเภอแกดำ , อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ ทุกประเภท ครอบครัวคนพิการร่วมกับชุมชน
3. งานบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (Disability Support Services : DSS) ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา ให้บริการสำหรับนักศึกษาพิการที่ศึกษาเรียนร่วมในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ศูนย์การศึกษาพิเศษ มีภาระหน้าที่ของหน่วยงาน และด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ มีจุดเด่นที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ มุ่งเน้นความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยเฉพาะผู้พิการ โดยรัฐจะต้องจัดการศึกษาและ มีสิทธิที่จะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้รับนโยบายจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในฐานะที่เป็นหน่วยงานจัดการศึกษาด้านคนพิการระดับอุดมศึกษา โดยจัดระบบสนับสนุนให้นักศึกษาพิการสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ ได้รับบริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ด้วยเหตุนี้ ศูนย์การศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จึงจัดทำโครงการส่งเสริม ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ภายใต้โครงการฯดำเนินงาน 2 กิจกรรม คือ
กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริม ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน : พัฒนาอาชีพคนพิการ ครอบครัวคนพิการ ร่วมกับชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้มั่นคงและยั่งยืน (13 อบต และ 2 เทศบาล) ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายของโครงการบริการวิชาการองค์ความรู้สู่ชุมชน เพื่อพัฒนาฝึกอาชีพ และส่งเสริมเศรษฐกิจรากฐาน ให้กับคนพิการ ครอบครัวคนพิการร่วมกับชุมชน จำนวน 300 ราย (ในพื้นที่ 13 อบต. 2 เทศบาล ละ 20 ราย) ในระหว่างวันที่ 21 มีนาคม – 26 กรกฎาคม 2567 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำคนพิการและแกนนำเครือข่ายให้สามารถส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ด้วยการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้แก่คนพิการ ครอบครัวคนพิการ ร่วมกับชุมชน สำหรับการฝึกอบรมทั้งในช่วงการอบรมและหลังการฝึกอบรมเสร็จสิ้น
กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริม พัฒนา ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในศูนย์ฯ : การจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตให้กับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (เด็กพิเศษ) ซี่งเป็นพื้นที่เป้าหมายภายในของโครงการบริกาวิชาการ เป็นแหล่งเสริมการเรียนรู้ และองค์ความรู้ ให้กับพ่อแม่ ครอบครัว จำนวน 15 ราย, เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (พิเศษ)
จำนวน 15 ราย และนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ และภาษาไทย และ สาชาวิชาอื่น ๆ จำนวน 200 ราย ในระหว่างวันที่ 7 พฤษภาคม – 30 กันยายน 2567 โดยมีวัตถุประสงค์
1) เพื่อให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (เด็กพิเศษ) ที่เข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพในศูนย์
การศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้รับโอกาส สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ประกอบอาชีพ อยู่ในสังคมได้
2) เพื่อพัฒนาทักษะการฟื้นฟูสมรรถภาพ/ช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ให้แก่ อาจารย์ ครู
บุคลากร ผู้ปกครอง นักศึกษา และบุคคลที่เกี่ยวข้องตามหลักวิชาการ
3) เพื่อเสริมการบริการวิชาการให้กับนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ และสาขาอื่น จากสภาพที่
เป็นจริงของแหล่งเรียนรู้ ชุมชน/สังคม
4) เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาพิการ สามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกัน
5) เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างความเข็มแข็งให้แก่ กลุ่มนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ และ
ภาษาไทย สาขาอื่นๆ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลคนพิการ ครอบครัว ครู บุคลากร เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลช่วยเหลือคนพิการ และเครือข่ายในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ
6) เพื่อให้บริการสนับสนุน ส่งเสริม ประสาน และอำนวยการให้การปฏิบัติงานของศูนย์การศึกษา
พิเศษ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์ต่อคนพิการและองค์กร
ผลการดำเนินงาน พบว่า
กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริม ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน : พัฒนาอาชีพคนพิการ ครอบครัวคนพิการ ร่วมกับชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้มั่นคงและยั่งยืน (13 อบต และ 2 เทศบาล) มีผู้สนใจเข้าร่วมฝึกอบรมพัฒนาอาชีพ พื้นที่มีจำนวนที่ตั้งไว้ จำนวน 20 ราย แต่ละหน่วยงานพื้นที่)
เป้าหมาย ที่ 4 สร้างหลักประกันว่าคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมและสนับสนุนโอกาสใน การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Quality Education)
ตัวชี้วัดโครงการ ที่ 2 ระดับความสำเร็จในการพัฒนางานบริการวิชาการพื้นฐานความต้องการของชุมชน
เรื่อง ฝึกอบรมพัฒนาอาชีพ
1. หลักสูตร ขนมไทย จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 100 ราย 5 ครั้ง
- ขนมเปียกปูนกะทิสด
- ขนมดอกจอก
2. หลักสูตร การแปรรูปสมุนไพร จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 140 ราย 7 ครั้ง
- ยาหม่องจากไพล
- พิมเสนน้ำ จากไพล
- ลูกประคบเปียก
3. หลักสูตร การแปรรูปสมุนไพร จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 90 ราย 3 ครั้ง
- พรมอเนกประสงค์ ด้วยห่วงผ้าเศษถุงเท้า
การประเมินผลการฝึกอบรมโดยใช้แบบประเมินของศูนย์การศึกษาพิเศษ พบว่า ความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมพัฒนาอาชีพ ประเด็นด้านวิทยากร และประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอาชีพ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก สูงสุด เท่ากับ 4.12 รองลงมา ประเด็นด้านกระบวนการ ขั้นตอนจัดโครงการฯ ที่มีระดับความพึงพอใจมาก เท่ากับ 4.01, ประเด็นด้านหลักสูตรในการฝึกอบรมฯ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก เท่ากับ 3.96 และ ประเด็นด้านสถานที่/วัสดุอุปกรณ์ อยู่ในระดับความพึงพอใจ มาก เท่ากับ 3.89
ผลสรุปรวมของค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาอาชีพ โครงการส่งเสริม ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กิจกรรม : พัฒนาอาชีพคนพิการ ครอบครัวคนพิการ ร่วมกับชุมชนฯ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 อยู่ในระดับ ความพึงพอใจ มาก
การติดตาม ผลการดำเนินกิจกรรมโครงการฯ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้คนพิการในวัยทำงานได้มีโอกาสฝึกอาชีพ ได้สร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้มีโอกาสเรียนรู้ และรู้จักเลือกปฏิบัติในสิ่งดีงาม ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีคนพิการ ครอบครัวคนพิการ และชุมชนเป็นต้นแบบ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของพื้นที่ชุมชน ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับเราและทุกคนในสังคมได้อีกด้วย นอกจากแสดงให้เห็นถึงการสร้างอาชีพทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นในกลุ่มคนพิการ ครอบครัวคนพิการ ร่วมกับชุมชนแล้ว ยังทำให้เกิดการรวมกลุ่มในชุมชน เพื่อทำกิจกรรมการแปรรูปสมุนไพร กลุ่มการถักพรมอเนกประสงค์ ด้วยห่วงผ้าเศษถุงเท้าย ทำให้เกิดความคุ้นเคย ความรัก ความสามัคคีในชุมชนและใช้ทรัพยากรในบริบทอย่างคุ้มค่า โดยการนำสมุนไพรที่มีอยู่มาแปรรูปเพื่อดูแลสุขภาพ และภายในกลุ่มมีการวางแผนต่อยอดกิจกรรม เช่น นวดแผนไทย เป็นต้น มีการก่อตั้งกลุ่มผลิตพรมเช็ดเท้าเพื่อจำหน่าย โดยมีสมาชิกกลุ่มมีการลงหุ้น เพื่อเป็นเงินทุนในการซื้อวัสดุ บุคลากรในหน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาล ทำเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่ายเองได้ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งภายในและภายนอกชุมชนได้ จากกลุ่มคนพิการ ครอบครัวคนพิการ ขยายไปสู่กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ในการสร้างงาน สร้างอาชีพ จำนวน 50 ราย และบางหลักสูตรที่ฝึกอบรมได้ขยายผลกลุ่มเป้าหมายสู่กลุ่มนักเรียน ชั้น ป.4 ป.5 ป. 6 จำนวน 3 โรงเรียน เพื่อส่งเสริมอาชีพเด็กและเยาวชน จำนวน 50 ราย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เสริมทักษะในการดำรงชีวิตประจำวัน สร้างอาชีพให้กับครอบครัว ของโรงเรียนที่อยู่ในความดูแลของพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล
กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริม พัฒนา ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในศูนย์ฯ : การจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตให้กับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (เด็กพิเศษ) มีผู้ที่เข้ารับบริการฟื้นฟูฯ จำนวน 15 ราย และผู้ปกครอง มีนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ และภาษาไทย สาขาอื่นๆ เข้าร่วมสังเกต และกิจกรรมในห้องปฏิบัติการร่วมกับบุคลากรศูนย์ฯ ตามคาบชั่วโมงของอาจารย์ผู้สอน ในกิจกรรมทักษะการเรียนรู้ ที่จัดขึ้น
ทักษะพื้นฐาน : ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่, ทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก, ทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน, ทักษะการรับรู้และแสดงออกทางภาษา, ทักษะทางสังคม, ทักษะทางสติปัญญาหรือการเตรียม ความพร้อมทางวิชาการ ให้เด็กพิเศษสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มีพัฒนาการดีขึ้น อยู่ในสังคมได้
ทักษะจำเป็นพิเศษเฉพาะความพิการหรือทักษะอื่นๆ (ฝึกทักษะอาชีพ) เวลาจัดการรเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับ ความพร้อมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กพิการตามประเภทและสภาพความพิการของแต่ละบุคคล ครอบครัวผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ จำนวน 15 ครอบครัว และบุคลากร ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมารู้จากการใช้วัสดุธรรมชาติ /วัสดุต้นทุนต่ำ ที่มีอยู่ในบริบทของชุมชน ใช้ฝึกทักษะทางอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ และสำหรับบุคลากรใช้ การถักพรมอเนกประสงค์ เป็นอาชีพ และสร้างรายได้
การประเมินผลความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม และการจัดการเรียนรู้ ศูนย์การศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตให้กับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (เด็กพิเศษ) พบว่า ครูและการจัดกระบวนการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มและการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก สูงสุด เท่ากับ 4.12 รองลงมา มีการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิเศษ ที่มีระดับความพึงพอใจมาก เท่ากับ 4.01, มีการส่งเสริม สนับสนุน การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มฯ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก เท่ากับ 3.96 และ คุณภาพของเด็กที่เข้ารับบริการ (บุตร หลานของท่าน) อยู่ในระดับความพึงพอใจ มาก เท่ากับ 3.89
ผลสรุปรวมของค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่มีต่อระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มและการจัดการเรียนรู้ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 อยู่ในระดับความพึงพอใจ มากที่สุด
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะอื่นๆ ควรมีจุดบริการน้ำดื่มสำหรับผู้ติดต่อขอรับบริการ
การติดตาม ผลการดำเนินกิจกรรมฯ อาจารย์ ครู บุคลากร ได้ประเมินความสามารถพื้นฐานเด็กพิเศษและสรุปจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP) สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักวิชาการทางการศึกษาพิเศษ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ และภาษาไทย สาขาอื่นๆ เข้าร่วมสังเกตการณ์กิจกรรมในห้องปฏิบัติการ ออกแบบกิจกรรม และผลิตสื่อการเรียนรู้ ร่วมกับบุคลากรศูนย์ฯ ตามคาบชั่วโมงของอาจารย์ผู้สอน ในกิจกรรมทักษะการเรียนรู้ จากสภาพที่เป็นจริงของแหล่งเรียนรู้ในศูนย์การศึกษาพิเศษ
ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : อาจาย์ยุพิน คณะมะ (ศูนย์การศึกษาพิเศษ)
SDG ที่เกี่ยวข้อง









