
การพัฒนากลุ่มวิสาหกิจเห็ดแบบครบวงจรสู่การแข่งขันในแพลตฟอร์มออนไลน์
การดำเนินงานโครงการ “การพัฒนากลุ่มวิสาหกิจเห็ดแบบครบวงจรสู่การแข่งขันในแพลตฟอร์มออนไลน์” ซึ่งเป็นโครงการบริการวิชาการภายใต้งบประมาณยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคามเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 นั้น มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด จำนวน 36 คน ได้แก่ ชาวบ้านตำบลแวงน่าง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีแม่บ้านหนองเจริญ นักศึกษา และบุคลากรคณะวิทยาการจัดการ โดยมีวัตถุประสงค์โครงการเพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ด พัฒนาตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์และทักษะทางด้านการตลาดออนไลน์ ซึ่งมีการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน คือ ระยะที่ 1 ต้นน้ำ เป็นกิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่จากเห็ดให้มีความหลากหลายโดยใช้เทคโนโลยีอาหาร ระยะที่ 2 กลางน้ำ เป็นกิจกรรมการพัฒนาตราสินค้าและการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยและตรงกับความต้องการของตลาด และระยะสุดท้าย ระยะที่ 3 ปลายน้ำ เป็นกิจกรรมการพัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัลเพื่อการทำการตลาดและการสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ด ตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์ และเพื่อส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์และทักษะทางด้านการตลาดออนไลน์
ระยะที่ 1: (ต้นน้ำ) มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่จากเห็ดให้มีความหลากหลายโดยใช้เทคโนโลยีอาหาร โดยการลงพื้นที่ศึกษาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือชุมชนแวงน่างเพื่อเชื่อมโยงความเป็นไปได้ทางในการนำเห็ดนางฟ้าซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านหนองเจริญมีการเพาะเห็ดอยู่แล้วแต่ยังขาดองค์ความรู้และเทคนิคใหม่ๆในการพัฒนารูปแบบการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดให้มีความหลากหลายและทันสมัยตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น
ระยะที่ 2: (กลางน้ำ) ออกแบบพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นการดำเนินงานเพื่อออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับน้ำพริกเห็ดนรก เพื่อให้วัตถุประสงค์ของโครงการในข้อที่ 1 สมบูรณ์
จากการดำเนินงานด้านพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบตราสินค้า การเลือกใช้สี การเลือกใช้รูปภาพที่เหมาะสม การออกแบบและเลือกใช้คำ หรือข้อความในการเพื่อออกแบบชื่อของตราสินค้าและสโลแกนสินค้า รวมไปถึงการเลือกบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมและดึงดูดความสนใจลูกค้า ทั้งนี้โดยจากการระดมความคิดของคนในชุมชนในกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัตินี้ ได้ข้อสรุปว่า ชื่อของยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ คือ น้ำพริกเห็ดนรกบ้านแวงน่าง
ระยะที่ 3: (ปลายน้ำ) พัฒนาต่อยอดช่องทางการจัดจำหน่ายบนแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นการดำเนินงานเพื่อพัฒนาทักษะการตลาดแบบออนไลน์ เพื่อต่อยอดการทำการตลาดในแพลตฟอร์มออนไลน์ให้แก่ชุมชน
จากการศึกษาศักยภาพพื้นที่ในตอนแรก พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมโครงการยังไม่มีช่องทางในการขายออนไลน์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน แต่จะมีการโพสขายสินค้าในไลน์กลุ่มของชุมชน ในการจัดจำหน่ายเห็ดฟางมีเพียงช่องทางการจำหน่ายในตลาดชุมชน คือ ตลาดแวงน่าง หรือตามงานแสดงสินค้า และจากการดำเนินงานกิจกรรมที่ 3 ได้เพื่อพัฒนาทักษะการตลาดแบบออนไลน์ เช่น การถ่ายภาพสินค้า การจัดวางสินค้า การออกแบบคอนเท้นท์เพื่อการขายสินค้าทั้งรูปแบบภาพนิ่งและวิดีโอ รวมถึงการเผยแพร่เป็นไลฟ์สด ในหลากหลายช่องทางบนโซเชียลเน็ตเวิร์ค ได้แก่ Facebook หรือ Tiktok
ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : ผศ.ดร.สุรีพร คลังพระศรี
SDG ที่เกี่ยวข้อง







