กิจกรรมที่ 1 ทุกก้าวที่มั่นคงของ RMU-Next Gen ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม ภายใต้โครงการยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม

กิจกรรมที่ 1 ทุกก้าวที่มั่นคงของ RMU-Next Gen ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม ภายใต้โครงการยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม

การพัฒนาทรัพยากรบุคคล นับเป็นเป้าประสงค์หลักของการทำโครงการในครั้งนี้ วิศวกรสังคมมีแนวคิดในการสร้างให้นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่งทั่วประเทศไทยให้เป็น นักคิด นักสื่อสาร นักประสาน และนักสร้างนวัตกรรม กิจกรรมของโครงการนี้ เริ่มต้นจากการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักศึกษา และบุคลากรในมหาวิทยาลัย ได้เข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมของวิศวกรสังคม เน้นกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม การวางแผนในการการดำเนินกิจกรรม เปิดโอกาสในนักศึกษาได้เข้ามามีบทบาทร่วมเรียนรู้ สิ่งหนึ่งทางผู้จัดกิจกรรมต้องยอมรับว่า การดำเนินเป็นไปด้วยความไม่ต่อเนื่อง การพัฒนาทักษะไม่ว่าจะเป็นในด้านใด ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยระยะเวลาในการดำเนินงาน ความพร้อมของนักศึกษา และแนวนโยบายที่ชัดเจนของมหาวิทยาลัย การพัฒนานักศึกษา จะสำเร็จลงไม่ได้เลย หากไม่ได้รับการร่วมมือของทั้ง 3 ฝ่ายได้แก่ นักศึกษา คณาจารย์ และผู้บริหาร การวางแผนกิจกรรม ของสาขาวิชา คณะ และมหาวิทยาลัยต้องสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อที่จะสร้างนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏให้เป็นนักวิศวกรสังคมผู้ที่จะเข้าไปสร้างและซ่อมสังคมให้สงบสุข สามารถดำรงชีพ ด้วยอาชีพการงาน และแนวความคิดที่ถูกต้อง มีจิตใจที่มั่นคง รู้จักตนเอง เคารพในวิถีของผู้อื่น ยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่าง รักการทำงานเป็นทีม ในกิจกรรมนี้มีนักศึกษาที่ผ่านการอบรมการพัฒนาทักษะด้าน soft skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม 200 คน คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ 100 คน ประกอบไปด้วยคณะครุศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีการเกษตร นิติศาสตร์ และวิทยาการจัดการ หลังจากอบรมได้นำนักศึกษาและคณาจารย์เข้าสำรวจและหาโจทย์ในบ้านโนนสะพัง ตำบลบ้านเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะมีอาชีพอิสระ ปัญหาที่พบในแต่ละหมู่บ้าน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องน้ำ ในการทำเกษตรอินทรีย์ หลังจากลงเก็บข้อมูลนักศึกษา นำสร้าง Timeline พัฒนาการ และเขียนผังก้างปลา พร้อมกับนำเสนอ แนวทางการแก้ไข ปัญหา ในกลุ่มกิจกรรมนี้นักศึกษาค่อนข้างหลากหลายคณะจึงทำให้การดำเนินงานในช่วงหลัง ค่อนข้างลำบากเนื่องจากแต่ละคณะมีกิจกรรมค่อนข้างหลากหลาย จึงขาดความต่อเนื่องในการพัฒนา แนวทางการแก้ไขในอนาคตน่าจะมีการขยายไปยังรายวิชา GE เพื่อให้ได้มีเวลา และกิจกรรมที่ทำจะได้ไม่มีความซ้ำซ้อนกับกิจกรรมอื่นๆ

ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : ผศ.ดร.ขวัญยืน เลี่ยมสำโรง

SDG ที่เกี่ยวข้อง
SDGs RMU