การสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ “ดอนปู่ตา” บนฐานทรัพยากรชุมชนสู่การอนุรักษ์ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นร่วมกับการบูรณาการการเรียนการสอน

การสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ “ดอนปู่ตา” บนฐานทรัพยากรชุมชนสู่การอนุรักษ์ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นร่วมกับการบูรณาการการเรียนการสอน

“ดอนปู่ตา” เป็นฐานทรัพยากรชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการอนุรักษ์ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นของชุมชนด้านศิลปะและวัฒนธรรม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยแหล่งเรียนรู้ “ดอนปู่ตา” จะเป็นพื้นที่ที่เปิดให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา สืบสาน ต่อยอด และเกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านดังกล่าวสู่เยาวชนคนรุ่นใหม่ด้วยการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน โดยโครงการมีการดำเนินงานซึ่งแบ่งออกเป็น 7 กิจกรรมย่อย ที่เริ่มตั้งแต่การประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เก็บรวบรวมข้อมูลบริบทชุมชน และสำรวจพื้นที่ป่าดอนปู่ตาในมิติต่างๆจนกระทั่งการปรับปรุง พัฒนา และจัดทำสื่อการเรียนรู้ในพื้นที่ป่าดอนปู่ตาเป็นแหล่งเรียนรู้ และการอบรมเชิงปฏิบัติการ และประเมิน สรุปโครงการ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะสิ้นปีงบประมาณ แต่โครงการดังกล่าวยังเป็นประโยชน์ต่อชุมชน และการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนของนักศึกษา นักเรียน และผู้ที่สนใจต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ที่สนใจเรียนรู้ได้มีความรู้ ความข้าใจในความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นจากภูมิปัญญาและวัฒนธรรม “ดอนปู่ตา” ที่อยู่คู่กับวัฒนธรรมและวิถีชุมชน โดยเฉพาะวิถีของคนอิสานที่มีความเชื่อมโยงกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจะนำไปสู่การสืบสาน ต่อยอด และเกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญา วัฒนธรรม และเกิดการอนุรักษฺทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง และชุมชนอื่นๆ ต่อไป รวมถึงเป็นการวางรากฐานจากการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ “ดอนปู่ตา” ให้เป็นศูนย์กลางของการบริการวิชาการด้านภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการอนุรักษฺทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น ให้แก่ ชุมชน หน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกชุมชนได้ต่อไป

ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : ดร. รติกร แสงห้าว

SDG ที่เกี่ยวข้อง
SDGs RMU