
ยกระดับผลิตภัณฑ์บำรุงพืชและดินของชุมชนสู่การต่อยอดการขายเชิงพาณิชย์ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ของชุมชนบ้านส่องเหนือ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” นำไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุขและตอบสนองต่อการบรรลุซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ ในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ระดับสูง เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และสร้างความสุขของคนไทย สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระดับเศรษฐกิจโดยยุทธศาสตร์ที่สำคัญหนึ่งในการขับเคลื่อน ได้แก่ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผ่าน (1) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม (Transformation of Culture) เพื่อสร้างคนไทยที่มีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย (2) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต รวมทั้ง (3) การปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม (Transformation of Learning) โดยมีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาให้มีความรู้และทักษะที่หลากหลาย คิดวิเคราะห์ แยกแยะมีทักษะการคิดเชิงบริหารและทางสังคมที่ดี พูดได้อย่างน้อย 2 ภาษา จัดการด้านการสื่อสาร มีพื้นฐานหลักของทักษะในศตวรรษที่ 21 รวมทั้ง Digital literacy และทักษะการเขียนโปรแกรมมี IQ - EQ - MQ ที่ได้มาตรฐาน สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต นำไปสู่การเป็นคนไทยที่เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความพร้อมทางกายใจและสติปัญญา มีสมรรถนะของการเป็นแรงงานทักษะสูง (Sophisticated worker) นวัตกรรม (Innovator) นักคิด (Thinker) และผู้ประกอบการ (Entrepreneur)มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามมีพันธกิจในการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ส่งผลต่อสถาบันอุดมศึกษาที่จะต้องร่วมขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาประเทศ
ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ประกอบกับมหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดอยู่ในกลุ่มสถาบันอุดมศึกษากลุ่มที่ 3 กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น ตามประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาสังกัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565 ซึ่งได้มอบหมายภารกิจให้มหาวิทยาลัยนำองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีลงสู่การพัฒนาชุมชนตามความต้องการของชุมชน รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีความยั่งยืน ด้วยการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนบของหลักสูตรที่สถาบันอุดมศึกษากำหนด การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้กำหนดพื้นที่รับผิดชอบในการให้บริการวิชาการในเขตจังหวัดมหาสารคาม ครอบคลุมทั้ง 13 อำเภอ โดยการมีส่วนร่วมของคณะ และสาขาวิชาในการขับเคลื่อนการดำเนินงานการนำองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีลงสู่การพัฒนาชุมชน
บ้านส่องเหนือ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เป็นพื้นที่ในเครือข่ายการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัย อยู่ห่างจากจังหวัดมหาสารคาม ประมาณ 500 เมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง คือ ทิศเหนือติดต่อกับตำบลเขวา ทิศตะวันออกติดต่อกับตำบลเขวาและตำบลมิตรภาพ ทิศใต้ติดต่อกับตำบลหนองปลิง ทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลแวงน่างและตำบลแก่งเลิงจาน ลักษณะภูมิอากาศ อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 27 - 40 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน โดยเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1,200 มิลลิเมตร ลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย ดินแห้งไม่อุ้มน้ำเวลาฝนตกน้ำซึมหายไปอย่างรวดเร็ว พื้นราบลุ่มสลับที่ดอนเป็นบางส่วน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่นา สำหรับที่ดอนใช้ในการเกษตรปลูกพืชและตอนบนจะติดอำเภอเมืองเป็นที่ราบลุ่ม ตอนล่างติดตำบลหนองปลิงเป็นที่ดอน ซึ่งทำให้พื้นที่ในตำบลเป็นลูกคลื่น ลักษณะของแหล่งน้ำ มีทรัพยากรทางธรรมชาติ แหล่งน้ำธรรมชาติ หนอง จำนวน 2 แห่ง ดังนี้ แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นเองฝาย จำนวน 2 แห่ง คลองชลประทาน จำนวน 1 แห่ง บ่อบาดาล จำนวน 18 แห่ง เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ทำนา ปลูกพืช ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ผลไม้กินได้และไม้เศรษฐกิจ การเลี้ยงสัตว์เช่น เป็ดไก่ โคกระบือ สุกร การประมง มีการเลี้ยงปลาหลากหลายชนิดทั้งบ่อน้ำของตนเองและนหนองน้ำสาธารณะ
จากการลงพื้นที่ของคณะผู้จัดทำโครงการเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนร่วมกับชุมชน พบว่า สภาพดินในชุมชนสำหรับการทำเกษตรกรรมในชุมชนได้ดำเนินการ เกษตรกรในชุมชนยังขาดองค์ความรู้ ด้านเทคโนโลยีและกระบวนการที่เป็นระบบซึ่งจะเป็นตัวช่วยนการทำการเกษตรได้ดีและง่าย ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะส่งผลให้เกิดผลผลิตที่ดีและมีปริมาณมาก สามารถขยายการใช้งานไปสู่เกษตรกรในชุมชนที่คลอบคลุมทั้งตำบล รวมถึงเกษตรกรในชุมชนยังมีการดำเนินงาน ตามวิถีชีวิตของชุมชน การบริหารจัดการในเชิงระบบหรือเชิงธุรกิจเพื่อการค้าสร้างอาชีพและรายได้ยังไม่เป็นรูปธรรมชัดเจน ดังนั้น จึงต้องมีการส่งเสริม สนับสนุนให้ชุมชน มีองค์ความรู้ กระบวนการในการทำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยส่งเสริม ต่อยอดหรือประยุกต์ใช้ห้เข้ากับงานและวิถีชีวิตประจำวัน จนสามารถต่อยอดนำไปสู่การจำหน่ายเชิงพาณิชย์ รวมถึงกระบวนการในการสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และการส่งเสริมให้เกษตรกรชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นสื่อในการเรียนรู้ทั้งยังสามารถบอกต่อความรู้สู่ชุมชนได้
ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : กีรติ ทองเนตร
SDG ที่เกี่ยวข้อง
