โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนยั่งยืนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์

โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนยั่งยืนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์

รายงานการดำเนินโครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนยั่งยืนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ลักษณะรูปแบบโครงการเป็นโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการต่อยอดองค์ความรู้การวิจัยจากบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามรวมถึงองค์ความรู้จากเครือข่ายอื่นๆภายนอกมหาวิทยาลัย โดยมีพื้นที่เป้าหมายจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นพื้นที่เขตบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสารคาม โดยสำนักบริการวิชาการมีบทบาทในการบริหารโครงการและติดตามตัวชี้วัดต่างๆจากโครงการย่อยที่มีบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเสนอขออนุมัติโครงการผ่านสำนักบริการวิชาการจำนวน 32 โครงการ ดำเนินงานผ่านกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการจำนวน 2,538 คน โดยมีรายละเอียดการดำเนินงานดังต่อไปนี้
1 จำนวนผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ขยายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ 49 ผลิตภัณฑ์
2. อัตลักษณ์ท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์และยกระดับ 14 อัตลักษณ์
3. คลัสเตอร์พืชหรือสัตว์เศรษฐกิจให้พื้นที่ให้บริการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแบครบวงจร 4 คลัสเตอร์
4. พัฒนาช่องทางการตลาดแบบออฟไลน์และออนไลน์
- แอปพลิเคชัน e-marketplace
- แคตตาล็อกสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ RJ38 และช่องทางการขายอีก 17 ช่องทาง
5. ตีพิมพ์และเผยแพร่งานวิจัย TCI ฐาน 2 4 ฉบับ
6. ผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานรากมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 13
7. องค์ความรู้ด้านการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน 68 องค์ความรู้
8. มหกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนรวมพลังราชภัฏฑ์ชุมชน สร้างเครือข่ายสู่ตลาดสินค้าเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออก มหกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนรวมพลังราชภัฏ 2 มหกรรม
9. จำนวนชุมชนที่มีดัชนีความสุขมวลรวมเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 จำนวน 12 ชุมชน
โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนยั่งยืนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ มุ่งเน้นให้ประชาชนในชุมชนมีองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยมีหลักสูตรการเรียนการสอนที่สามารถบูรณาการส่งการบริการวิชาการสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากโดยอาศัยทุนทางสังคมที่หลากหลายตามบริบทของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจ สัตว์เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น มีหน่วยงานภาคีเครือข่ายความร่วมมือ โครงการฯ ดำเนินงานภายใต้ชุดโครงการจำนวน 32 โครงการย่อยโดยดำเนินการพัฒนา ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย
โครงการย่อยที่ 1 : โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนยั่งยืนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์
โครงการย่อยที่ 2 : โครงการ Show and Share
โครงการย่อยที่ 3 : โครงการพัฒนาตลาดออนไลน์ E-market place เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
โครงการย่อยที่ 4 : โครงการส่งเสริมธุรกิจการเพาะเลี้ยงตั๊กแตนและเพิ่มมูลค่าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ต.นาสีนวน อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 5 : โครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ชนสู่อาชีพเกษตรที่ยั่งยืนในพื้นที่ ต.สำโรง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 6 : โครงการยกระดับศักยภาพการผลิตเสื่อกกบ้านแพง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 7 : โครงการยกระดับมาตรฐานสินค้าชุมชนสู่การต่อยอดการขายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ต.ดอนงัว อ.บรบือ จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 8 : โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นสู่ตลาดดิจิทัล
โครงการย่อยที่ 9 : โครงการยกระดับชุมชน OTOP และช่องทางในการแข่งขันในตลาดออนไลน์ของ บ้านจาน ต.เสือเฒ่า อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 10 : โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์พริกจินดา ชุมชนโคกก่อ
โครงการย่อยที่ 11 : โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นเพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจร่วมในชุมชนและพร้อมต่อการแข่งขันในตลาดออนไลน์
โครงการย่อยที่ 12 : โครงการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจเห็ดครบวงจรสู่การแข่งขันในแพลตฟอร์มออนไลน์
โครงการย่อยที่ 13 : โครงการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงกบนาครบวงจรเพื่อการค้า
โครงการย่อยที่ 14 : โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากของเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตไวน์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนยั่งยืนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ของวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปสมุนไพรอินทรีย์ไร่พารวย อ.เมือง จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 15 : โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่สู่แพลตฟอร์มออนไลน์บนฐานเอกลักษณ์ของชุมชน
โครงการย่อยที่ 16 : โครงการส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์หมวกสานพลาสติกบ้านนาภู ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคามสู่แพลตฟอร์มออนไลน์
โครงการย่อยที่ 17 : โครงการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการทอผ้าตามแบบวัฒนธรรมชุมชนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ตำบลกำพี้ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 18 : โครงการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการผลิตอาหารแปรรูปสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 19 : โครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตการทอเสื่อกก ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน BCG สู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ชุมชนบ้านโสกภารา ตำบลหนองคูขาด อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 20 : โครงการการนำเทคโนโลยีส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มจักสานไม้ไผ่ สู่แพลตฟอร์มออนไลน์ พื้นที่ชุมชนบ้านวังบัว ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 21 : โครงการยกระดับคุณภาพการพัฒนาสินค้าและการบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 22 : โครงการยกระดับชุมชน OTOP และช่องทางในการแข่งขันในตลาดออนไลน์
โครงการย่อยที่ 23 : โครงการการยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ สู่ตลาดสากลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือ ต.ดงบัง อ.นาดูน จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 24 : โครงการการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า ของผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยรูปแบบการสื่อสารการตลาด ต.ศรีสุข อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 25 : โครงการการเพาะเลี้ยงเห็ดแบบครบวงจร และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนสู่ความยั่งยืน ชุมชนหนองสนม ต.ก้ามปู อ.พยัคฆภูมิพิสัย
โครงการย่อยที่ 26 : โครงการการพัฒนาและยกระดับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์มันแกว GI ตามมาตรฐาน PGS เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในจังหวัดมหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 27 : โครงการการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตข้าวฮางทุ่งนาทอง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเหล่าจั่น หมู่ 10 ต.แกดำ อ.แกดำ จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 28 : โครงการการพัฒนายกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์มันแกว GI ของชุมชนในจังหวัดมหาสารคามสู่แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ (E-marketplace)
โครงการย่อยที่ 29 : การออกแบบบรรจุภัณฑ์น้ำพริกเห็ด เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน ต.หนองแสน อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม
โครงการย่อยที่ 30 : การพัฒนากระบวนการผลิตข้างโป่งอีสานเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
โครงการย่อยที่ 31 : โครงการ การขับเคลื่อนชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรมท้องถิ่น : เครือข่ายเข้มแข็ง สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่าย
โครงการย่อยที่ 32 : โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน “ถนนสร้อยดอกจาน”
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นหน่วยงานหลักในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน โดยเชื่อมประสานหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยได้แก่ คณะ ศูนย์ สำนัก สร้างชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตด้านสังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษา และด้านเศรษฐกิจที่ดี โดยโครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนยั่งยืนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ จะทำให้ชุมชนได้รับองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีจากการจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนเป็นการสร้างรายได้ และเป็นการสร้างเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ ซึ่งผลิตภัณฑ์ต้องมีคุณภาพมาตรฐานที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคทั้งในรูปแบบตลาดออนไลน์และออฟไลน์สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ให้กับประชาชนและประเทศไทย

ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : ผศ.ดร.วสันต์ ปินะเต

SDG ที่เกี่ยวข้อง
SDGs RMU