การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ตามกระบวนการถ่ายทอดปราชญ์ชาวบ้านของอำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม

การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ตามกระบวนการถ่ายทอดปราชญ์ชาวบ้านของอำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) มีสถานะเป็นแผนระดับที่ 2 ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ และใช้เป็นกรอบสำหรับการจัดทำแผนระดับที่ ๓ เพื่อให้การดำเนินงานของภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องสามารถสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ตามกรอบระยะเวลาที่คาดหวังไว้ได้ โดยมีเจตนารมณ์ของยุทธศาสตร์ชาติ ได้อาศัยหลักการและแนวคิด 4 ประการ 1) บริบทการพัฒนาประเทศในมิติด้านเศรษฐกิจ 2) บริบทการพัฒนาประเทศในมิติด้านสังคมและทรัพยากรมนุษย์ 3) บริบทการพัฒนาประเทศในมิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4) บริบทการพัฒนาประเทศในมิติด้านการบริหารจัดการภาครัฐ
ครูภูมิปัญญาไทยหรือที่ยกย่องกันว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” มีความหลากหลายตามความถนัด และการปฏิบัติของแต่ละคน ซึ่งมีองค์ความรู้ที่มีการหล่อหลอม ซึมซับ บ่มเพาะ ค้นคว้า ทดลองโดยใช้วิถีชีวิต ของตนเองเป็นห้องทดลองขนาดใหญ่ เพื่อทดสอบความถูกผิดแล้วคิดสรรกลั่นกรองสิ่งที่มีคุณค่าแก่ชีวิต แก่แผ่นดิน ถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้สืบสานทั้งที่เป็นมรดกและทั้งที่เป็นสมบัติทางปัญญา ดังนั้นประสบการณ์ ความคิดและวิถีการดำรงชีวิตซึ่งแต่ละท่านล้วนเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่สำคัญของแผ่นดิน
ปราชญ์ชาวบ้านนับว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่สุด และมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการน้อม นําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปศึกษาและปฏิบัติตน จนบังเกิดผลเป็นที่ ประจักษ์สามารถสร้างความอยู่ดีมีสุขแก่ตนเองและครอบครัว ภาคราชการจึงเล็งความสําคัญของปราชญ์ ชาวบ้าน จึงได้สนับสนุนส่งเสริมให้เป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อขยายผลความสําเร็จของท่านทั้งหลายไปสู่ชุมชน หรือผู้ ที่สนใจ ต้องการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนําภูมิปัญญาและแนวทางของปราชญ์แต่ละท่านไปเป็นตัวอย่าง ในการพัฒนาตนเองและชุมชนให้มีความอยู่เย็นเป็นสุขอันเป็นเป้าหมายที่สําคัญของการพัฒนาประเทศ สศช. ได้เล็งเห็นความสําคัญของปราชญ์ชาวบ้าน ในฐานะที่เป็นกลไกหรือภาคีการพัฒนาที่สําคัญ ที่สามารถเชื่อมโยงความรู้ไปสู่บุคคล ชุมชน และท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้รวบรวมข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านและศูนย์เรียนรู้เพื่อใช้ประโยชน์ ในการศึกษา ต่อยอดองค์ความรู้สร้างเครือข่ายภาคีการพัฒนา และขยายผลเชื่อมโยงในการขับเคลื่อนการ พัฒนาในแต่ละระดับต่อไป

ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : อาจารย์ ดร.อนุชา ลาวงค์

SDG ที่เกี่ยวข้อง
SDGs RMU