
การพัฒนาหลักสูตร RMU BEESTH Model (3 สร้าง 6 เสริม) สำหรับการเรียนรู้และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
โครงการการพัฒนาหลักสูตร RMU BEESTH Model (3 สร้าง 6 เสริม) สำหรับการเรียนรู้และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 300 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1. ระยะที่ 1 ต้นน้ำ การพัฒนาหลักสูตร RMU BEESTH Model (3 สร้าง 6 เสริม) สำหรับการเรียนรู้และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย (1) หลักสูตรนวัตกรรมด้านสุขภาพ SMART PROGRAME (2) หลักสูตรนวัตกรรมด้านการเคลื่อนไหวทางร่างกายสำหรับผู้สูงอายุ (3) หลักสูตรนวัตกรรมด้านสังคมวัฒนธรรม (ดนตรีพื้นบ้านกับการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ) (4) หลักสูตรนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ (5) หลักสูตรนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมการออกแบบและปรับปรุงบ้านพักอาศัย สำหรับผู้สูงวัย และ (6) หลักสูตรนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจและความรู้ในการดำรงชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุ 2. ระยะที่ 2 กลางน้ำ 1) การทดลองใช้หลักสูตร RMU BEESTH Model (3 สร้าง 6 เสริม) สำหรับการเรียนรู้และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และ 2) การติดตามและประเมินผลการทดลองใช้หลักสูตร RMU BEESTH Model (3 สร้าง 6 เสริม) สำหรับการเรียนรู้และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และ 3. ระยะที่ 3 ปลายน้ำ: 1) การวิพากย์และสรุปผลหลักสูตร RMU BEESTH Model (3 สร้าง 6 เสริม) สำหรับการเรียนรู้และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และ 2) การจัดแสดงนำเสนอผลงานหลักสูตร RMU BEESTH Model (3 สร้าง 6 เสริม) สำหรับการเรียนรู้และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
จากผลการดำเนินการโครงการ พบว่า ได้หลักสูตรต้นแบบ RMU BEESTH Model (3 สร้าง 6 เสริม) สำหรับการเรียนรู้และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย (1) หลักสูตรนวัตกรรมด้านสุขภาพ SMART PROGRAME (2) หลักสูตรนวัตกรรมด้านการเคลื่อนไหวทางร่างกายสำหรับผู้สูงอายุ (3) หลักสูตรนวัตกรรมด้านสังคมวัฒนธรรม (ดนตรีพื้นบ้านกับการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ) (4) หลักสูตรนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ (SMART Ageing) (5) หลักสูตรนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมการออกแบบและปรับปรุงบ้านพักอาศัย สำหรับผู้สูงวัย SMART Home) และ (6) หลักสูตรนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจและความรู้ในการดำรงชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุ
ตลอดจน ผลการประเมินผลโครงการ พบว่า โครงการการพัฒนาหลักสูตร RMU BEESTH Model (3 สร้าง 6 เสริม) สำหรับการเรียนรู้และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.00, S.D. = 0.32) ซึ่งจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงานคุ้มค่ากับทรัพยากรที่ใช้โครงการลักษณะนี้สมควรที่จะดำเนินการในปีงบประมาณต่อไป (x̅ = 4.70, S.D. = 0.48) 2) มีการดำเนินงานตามวิธีการและขั้นตอนที่กำหนดไว้ในโครงการ (x̅ = 4.68, S.D. = 0.37) 3) ผลการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย (x̅ = 4.65, S.D. = 0.36) 4) กิจกรรมต่างๆ มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ (x̅ = 4.62, S.D. = 0.32) และ 5) ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความสามารถและความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการ (x̅ = 4.60, S.D. = 0.35) ตามลำดับ
ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : อาจารย์ ดร.วาริธ ราศรี
SDG ที่เกี่ยวข้อง










