โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกระบวนการทักษะ Soft skill (วิศวกรสังคม) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

โครงการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกระบวนการทักษะ Soft skill (วิศวกรสังคม) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

การดำเนินงานโครงการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกระบวนการทักษะ Soft skill (วิศวกรสังคม) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน พบว่า ได้สร้างผลกระทบเชิงบวกในชุมชน ประกอบด้วย 1) ด้านเศรษฐกิจ คือ ประชาชนในชุมชนพื้นที่เป้าหมาย มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่ถูกพัฒนาแปรรูปขึ้นมา โดยกระบวนการทักษะ Soft Skill ร่วมกับชุมชนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ข้าวปลอดสารออร์แกนิกดงเค็งและเหล้าสาโทข้าวเหนียวขาว-ดำ 2) ด้านท้องถิ่น คือ ได้ชุมชนต้นแบบพัฒนาท้องถิ่นด้วยกระบวนการทักษะ Soft Skill โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 3) ด้านการศึกษา คือเป็นพื้นที่ชุมชนแหล่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม อาทิ หลักสูตรสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้นำความรู้มาบูรณาการประยุกต์ร่วมแก้ไข/พัฒนากับชุมชน ท้องถิ่น (ฝึกปฏิบัติภาคสนามจริง) 4) ด้านสิ่งแวดล้อม คือ ได้ผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดสารออร์แกนิกดงเค็งและเหล้าสาโทข้าวเหนียวขาว-ดำ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5) ด้านนโยบาย คือ ได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (5ปี) ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อใหญ่ และนำไปสู่การจัดทำข้อบัญญัติเพื่อบรรจุในแผนปฏิบัติการ (แผน 1ปี) และ 6) ด้านเครือข่าย คือ ได้เครือข่ายความร่วมมือเชิงพื้นที่ ภายใต้เครือข่ายการวิจัยและบริการวิชาการหมู่บ้านราชภัฏ เป็นต้น
ตลอดจน จากผลการดำเนินการโครงการ พบว่า ผลการประเมินโครงการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกระบวนการทักษะ Soft skill (วิศวกรสังคม) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.65, S.D. = 0.39) ซึ่งจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพการศึกษา (x̅ = 4.88, S.D. = 0.45) 2) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงานคุ้มค่ากับทรัพยากรที่ใช้โครงการลักษณะนี้สมควรที่จะดำเนินการในปีงบประมาณต่อไป (x̅ = 4.86, S.D. = 0.40) 3) การดำเนินงานมีผลโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (x̅ = 4.80, S.D. = 0.48) 4) เมื่อพบปัญหา/อุปสรรค มีการร่วมกันหาแนวทางปรับปรุงแก้ไข (x̅ = 4.76, S.D. = 0.26) และ 5) กิจกรรมต่างๆ มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ (x̅ = 4.74, S.D. = 0.42) ตามลำดับ

ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : อาจารย์พิชญ์ทิพา สุวรรณศรี

SDG ที่เกี่ยวข้อง
SDGs RMU