
โครงการอบรมเตรียมความพร้อมภาษาไทยและภาษาต่างประเทศสำหรับนักศึกษาไทยและต่างชาติ
โครงการอบรมเตรียมความพร้อมภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เป็นโครงการที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ เป้าประสงค์ที่ 3.3 ยกระบบคุณภาพบัณฑิตให้เป็นที่ต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ด้วยอัตลักษณ์ 4 ประการ พร้อมรองรับบริบทที่เปลี่ยนแปลง กลยุทธ์ที่ 14 ผลิตบัณฑิตได้ตามความต้องการ ทั้งด้านสมรรถนะ วิชาชีพ ทักษะบัณฑิตศตวรรษที่ 21 และคุณลักษณะ 4 ประการ โดยโครงการมีวัตถุประสงค์ดังนี้
(1)เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสื่อสารภาษาไทยได้ (2)เพื่อเป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย (3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้ทักษะภาษาไทยในการสื่อสารและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ (4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมไทย และสามารถดำรงชีวิตในประเทศไทย และใช้ภาษาไทยได้ตามจุดประสงค์ของผู้เข้าอบรม เช่น เพื่อการศึกษาต่อ หรือประกอบอาชีพในประเทศไทย
โครงการจัดกิจกรรมระหว่างวันที่ วันที่ 15 ก.พ. 2567 สิ้นสุด 11 เมษายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
ผลการดำเนินงานพบว่า
1.ผู้เข้าอบรมสามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้ในเบื่องต้นและยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้
2.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ศิลปะวัฒนธรรมไทยจากการเข้าอบรมในครั้งนี้ผ่านการนำเสนอในช่องทางต่างๆได้
สรุปผลการดำเนินโครงการอบรมเตรียมความพร้อมภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการตามปริมาณกลุ่มเป้าหมาย และสามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ พร้อมทั้งได้เรียนรู้ถึงศิลปและวัฒนธรรมไทยในครั้งนี้
1. หลักการและเหตุผล
สำนักวิเทศสัมพันธ์และการจัดการศึกษานานาชาติ ได้ดำเนินการจัดอบรมโครงการเตรียมความพร้อมภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาไทย หรือเพื่อการประกอบอาชีพและดำรงชีวิตในประเทศไทยและต่างประเทศ ในนามมหาวิทยาลัย สำนักวิเทศสัมพันธ์ฯ ได้ดำเนินการติดต่อประสานงานกับสถาบันการศึกษารวมถึงประชาสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการรับสมัครผู้เข้าอบรมชาวต่างชาติและนักศึกษาชาวไทยที่สนใจจะเข้าร่วมอบรมในโครงการดังกล่าว เพื่อจุดประสงค์ในการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และมหาลัยแห่งอื่นในประเทศไทย หรือเพื่อจุดประสงค์ในการประกอบอาชีพตามความประสงค์ของผู้เข้าร่วมอบรม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ภายใต้ยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมมหาวิทยาลัยเข้าสู่การยอมรับในระดับสากล และการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงเห็นว่า การจัดอบรมภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่จะช่วยสนับสนุน ยุทศาสตร์ดังกล่าว ตลอดจนเป็นการเผยแพร่ภาษาและศิลปวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล
2. วัตถุประสงค์การจัดโครงการ
2.1 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้
2.2 เพื่อเป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย
2.3 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้ทักษะภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้ในการสื่อสารและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
2.4 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมต่างประเทศ สามารถดำรงชีวิตในประเทศไทย และใช้ภาษาไทยได้ตามจุดประสงค์ของผู้เข้าอบรม เช่นเพื่อการศึกษาต่อ หรือประกอบอาชีพในประเทศไทยและต่างประเทศ
3. กลุ่มเป้าหมาย
3.1 สถานะกลุ่มเป้าหมาย ผู้เข้าอบรมชาวไทยและต่างชาติ
3.2 ปริมาณกลุ่มเป้าหมาย 14 คน
3.3 พื้นที่กลุ่มเป้าหมาย ภูมิภาคอาเซียน
4. ระยะเวลาในการดำเนินการ
โครงการนี้ มีระยะเวลาในการดำเนินงาน ในการดำเนินงาน 39 วัน ระหว่างวันที่ 15 ก.พ. 2567 สิ้นสุด 11 เมษายน 2567 โดยจัดกิจกรรมในการดำเนินการ เป็น 1 กิจกรรม คือ โครงการอบรมเตรียมความพร้อมภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
5. สถานที่ในการจัดโครงการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
6.1 ผู้เข้าอบรมมีทักษะและหลักการในการเรียนรู้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่ถูกต้อง และผู้เข้าอบรมสามารถนำทักษะ เทคนิค และหลักการที่ถูกต้องไปฝึกฝนและพัฒนาทักษะทางภาษาได้ด้วยตนเอง ทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน
6.2 ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณีของไทยและต่างประเทศ
6.3 ผู้เข้าอบรมสามารถใช้ทักษะภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้
2. เพื่อเป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้ทักษะภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้ในการสื่อสารและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมต่างประเทศ สามารถดำรงชีวิตในประเทศไทย และใช้ภาษาไทยได้ตามจุดประสงค์ของผู้เข้าอบรม เช่นเพื่อการศึกษาต่อ หรือประกอบอาชีพในประเทศไทยและต่างประเทศ
ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 3
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
3.1.1 จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาสำหรับนักศึกษาและบุคลากรทั้งที่เป็นคนไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 2
การประเมินและติดตามผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการอบรมเตรียมความพร้อมภาษาไทยและภาษาต่างประเทศพบว่า
1) ผู้เข้าอบรมมีทักษะและหลักการในการเรียนรู้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่ถูกต้อง และผู้เข้าอบรมสามารถนำทักษะ เทคนิค และหลักการที่ถูกต้องไปฝึกฝนและพัฒนาทักษะทางภาษาได้ด้วยตนเอง ทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน
2) ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณีของไทยและต่างประเทศ
3) ผู้เข้าอบรมสามารถใช้ทักษะภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การติดตามและประเมิณผล
1)ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการฯเพื่อรวบรวม วิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินโครงการ หลังจากดำเนินการโครงการจบสิ้น คณะกรรมการดำเนินโครงการได้สรุปผลการดำเนินโครงการต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ
2)จัดทำรูปเล่มรายงานและนำเสนอต่อคณะกรรมการสำนักฯผู้รับผิดชอบโครงการได้ดำเนินการจัดทำรูปเล่มรายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยฯ (กบ)
ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : สำนักวิเทศสัมพันธ์และการจัดการศึกษานานาชาติ
SDG ที่เกี่ยวข้อง

