โครงการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาครูและครูพี่เลี้ยงโดยการบูรณาการแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้และการชี้แนะทางปัญญา เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

โครงการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาครูและครูพี่เลี้ยงโดยการบูรณาการแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้และการชี้แนะทางปัญญา เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

โครงการ การพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาครูและครูพี่เลี้ยงโดยการบูรณาการแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้และการชี้แนะทางปัญญาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เป็นโครงการที่ความสอดคล้องกับ 3. ความสอดคล้องกับแผนระดับต่าง ๆ ความเชื่อมโยงตาม พ.ร.บ. มรภ. และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 3.1 ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) 3. ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 3.2 แผนแม่บทภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561–2580) 11. ด้านการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต 3.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต 3.4 ยุทธศาสตร์กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแพลตฟอร์มที่ 1 การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ 3.5 ความเชื่อมโยงพันธกิจตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 8 ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 ให้กำหนดภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัย 5. เสริมสร้างความเข็มแข็งของวิชาชีพครู ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง 3.6 แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนาครู 3.7 แผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนาครู 3.8 แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนาครูมืออาชีพ ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดที่ 5 ระดับความสำเร็จในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มเปราะบาง และโรงเรียนในโครงการพระราชดำริรวมทั้งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชากรทุกกลุ่มทุกช่วงวัยในพื้นที่ 4. กลุ่มโครงการหลัก 3) โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก
โดยโครงการมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับคณะครุศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในการปฏิบัติการสอนในบริบทจริง 2) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในการปฏิบัติการสอนในบริบทจริง 3) เพื่อให้นักศึกษา ครูพี่เลี้ยงและอาจารย์ร่วมสอนนักเรียน นักศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ บ่มเพาะปัญญาและส่งเสริมสมรรถนะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 4) เพื่อประเมินนักศึกษา อาจารย์ ครูพี่เลี้ยง ให้มีความพร้อมในการถ่ายทอดวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาสถานศึกษาที่มีความพร้อมที่เป็นแหล่งการปฏิบัติการสอนในบริบทจริง จัดกิจกรรมระหว่างในวันที่ 6-15 มิถุนายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม งบประมาณ 195,000 บาท ผลการดำเนินงาน พบว่า ตัวชี้วัดที่ 1 ตัวชี้วัด 1) จำนวนโรงเรียน/หน่วยงานที่เข้าร่วมเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ส่งเสริมการพัฒนาบัณฑิตครู จำนวน 5 โรงเรียน 2). ระดับความสำเร็จในการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่ครูมืออาชีพ ร้อยละของเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เข้ารับการอบรมและนำผลจากการอบรมไปใช้ในการพัฒนาวิชาชีพหลังจากอบรมไม่น้อยกว่า 6 เดือน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จำนวน 1 หลักสูตร 3) ระดับความสําเร็จของความร่วมมือกับเครือข่ายสถานประกอบการและองค์กรวิชาชีพ ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และการประกอบอาชีพของบัณฑิต ร้อยละของหลักสูตรที่ได้ร่วมกับสถานศึกษา/สถานประกอบการ/หน่วยงาน บ่มเพาะนักศึกษาให้มีทักษะเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่/ครูคุณภาพ จำนวน 5 โรงเรียน
สรุปผลการดำเนินงาน โครงการ การพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาครูและครูพี่เลี้ยงโดยการบูรณาการแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้และการชี้แนะทางปัญญาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ได้ดำเนินการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จของหลักสูตร

ผู้รับผิดชอบ ให้ข้อมูล : ผศ.ดร.นวพล นนทภา คณะครุศาสตร์ (กิจกรรมย่อย โครงการยุทธศาสตร์ โรงเรียนขนาดเล็ก)

SDG ที่เกี่ยวข้อง
SDGs RMU